Bishopbark การดูแลสุนัข,คู่มือสำหรับมือใหม่ วิธีการเลี้ยงสุนัขพันธุ์อเมริกันบลูลี่

วิธีการเลี้ยงสุนัขพันธุ์อเมริกันบลูลี่

วิธีการเลี้ยงสุนัขพันธุ์อเมริกันบลูลี่ post thumbnail image

สุนัขสายพันธุ์อเมริกันบูลลี่เป็นหมาน่ารัก ใจดี ขี้เล่น ติ๊งต๊องชอบให้พาออกกำลังกายและที่สำคัญสุนัขที่โตมานั้นลักษณะนิสัยจะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูและเอาใจใส่ของเจ้าของด้วยครับ

การเจริญเติบโต

          ช่วงอายุ 1-3 เดือน ช่วงอายุนี้จะเป็นช่วงนี่น่ารักที่สุด ให้ทำไรก็ทำชอบอยู่กับคน อาหารสำหรับวัยนี้เน้นโปรตีนส่วนมากได้แก่ นม เนื้อไก่ เนื้อวัวและ ไข่
                ช่วงอายุ 3-7 เดือน จะเป็นช่วงยืดตัว ยังต้องดูแลอาหารเน้นโปรตีนครับ เนื้อ นม ไข่ เช่นเดียวกัน
          ช่วงอายุ 7-12 เดือน จะเป็นช่วงที่เริ่มออกด้านข้าง ตัวจะล่ำขึ้น กล้ามเนื้อเริ่มชัดเจนขึ้น อาหารจำพวกโปรตีนก็ยังมีความจำเป็นอยู่สำหรับช่วงวัยนี้ครับ
                ช่วงอายุ 12-18 เดือน จะเป็นช่วงที่หัวเริ่มออก ส่วนนึงก็มาจากพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ เชื้อสายที่ดีด้วยนะครับ
          ช่วงอายุ 18 เดือนขึ้นไป จะเป็นช่วงหนุ่มใหญ่ ทุกสัดส่วนจะลงตัวมากที่สุด ดูหนาแน่นมากขึ้น กล้ามเนื้อชัดเจน สุนัขส่วนมากในช่วงวัยนี้จะหยุดการเจริญเติบโตแล้ว ฉะนั้นไม่จำเป็นต้องเน้นโปรตีนมากในช่วงวัยนี้ อาจเป็นเน้นเป็นพวกอาหารเสริมเกี่ยวกับแคลเซียมเพื่อช่วยบำรุงเกี่ยวกับเรื่องกระดูก และในช่วงวัยนี้อาจมีการควบคุมน้ำหนักให้สุนัขเพื่อไม่ให้อ้วนเกินไปเพราะเสี่ยงต่อโรคต่างๆอีกด้วย


โรคที่ต้องระมัดระวังของสุนัขสายพันธุ์อเมริกันบูลลี่

1. โรคไข้หัด

          โรคนี้เกิด จากเชื้อไวรัส มักเกิดกับลูกสุนัขอายุน้อย ๆ ตั้งแต่ 2-3 เดือน บางครั้งก็พบว่าเกิดใน สุนัขที่โตแล้วเมื่อสุนัขเป็นโรคนี้โอกาสที่จะหาย นั้น มีน้อยมาก โดยอาการของมันก็แสดงออกมาทางอาการประสาท ตัวกระตุก หรือชักตลอดชีวิตส่วนใหญ่แล้วตาย อย่างทรมาน อาการของโรค เราสามารถสังเกตได้จากการที่สุนัขมีน้ำมูกสีเขียวไหลย้อย ดูเหมือน ปอดบวม มีไข้ เบื่ออาหาร ซึมมีตุ่มหนองขึ้นที่ใต้ท้อง มีขี้ตาสีเขียวๆเกอะกรังตลอดเวลาเมื่ออาการทวีความรุนแรงขึ้นจะพบว่ามีอาการทางประสาท คือปากสั่น กระตุก และลามไปที่บริเวณหนังหัว ใบหน้า ขาหลัง อาจจะพบบริเวณฝ่าเท้า กระด้างขึ้น บางรายพบว่ามีท้องร่วงร่วม เราสามารถป้องกันได้โดยฉีดวัคซีน ป้องกันโรคไข้หัดได้โดยการฉีดวัคซีนป้องกันตั้งแต่อายุ 2 เดือน เป็นเข็ม แรกหลังจากนั้นอีกหนึ่งเดือน ก็พาไปรับการฉีดวัคซีนเข็มที่สอง เป็นการ กระตุ้นภูมิคุ้มกันและฉีดซ้ำทุก ๆ ปี ปีละ 1 ครั้ง

2. โรคผิวหนัง

          2.1 ขนร่วงจากอาการแพ้ ไม่ว่าจะเป็นการแพ้อาหาร แพ้น้ำลาย แพ้เห็บหมัด แชมพู รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมต่างๆ ที่น้องหมาเราชอบเอาตัวลงไปเกลือกกลิ้ง เช่นพื้นดิน พื้นหญ้า อาการแพ้จากสิ่งต่างๆ เหล่านี้อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้น้องขนร่วงได้ทั้งหมด
          2.2 ขนร่วงจากการติดเชื้อที่ผิวหนัง เป็นอาการที่สามารถพบได้บ่อย ไม่ว่าจะเป็นการติดเชื้อจากเชื้อรา แบคทีเรีย ปรสิตต่างๆ ที่มาอาศัยอยู่เช่น เห็บ หมัด ไรขี้เรื้อนต่างๆ ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลให้ขนน้องร่วงได้ทั้งสิ้น โดยสาเหตุของการติดเชื้อนั้นอาจเกิดจากการดูแลรักษาความสะอาดที่ไม่ดีพอ

3.โรคพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข

          เป็นโรคที่พบบ่อยโรคหนึ่ง และเป็นโรคที่มีผลเสียกระทบกับอวัยวะหลายๆ ส่วนของน้องหมาค่ะ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาได้หลายอย่าง และมีโอกาสทำให้น้องเค้าเสียชีวิตได้ค่ะ แต่ถึงอย่างไรก็ตามเราก็สามารถป้องกันการเกิดโรคของน้องหมาได้อย่างง่ายดาย ดังนั้นเราจะมาเริ่มทำความรู้จักกับโรคนี้กันดีกว่าค่ะ
ตัวเชื้อพยาธิเม็ดเลือดในสุนัข มีด้วยกัน 3 ชนิด ได้แก่ Babesia, Ehrlichia และ Hepatozoon โดย Babesia จะอาศัยอยู่ในเม็ดเลือดแดง ส่วน Ehrlichia และ Hepatozoon อาศัยอยู่ในเม็ดเลือดขาว

          สาเหตุ : เกิดจากเห็บที่อยู่บนตัวสุนัขค่ะ โดยเห็บสามารถแพร่เชื้อเข้าสู่ร่างกายน้องหมาได้ 2 ช่องทาง ช่องทางแรกเกิดจากตัวเห็บเองแพร่เชื้อเข้าสู่ร่างกายน้องเค้าเลย โดยขณะที่เห็บดูดกินเลือดสุนัข เชื้อ Babesia และ Ehrlichia ในน้ำลายของเห็บจะถูกปล่อยเข้าสู่กระแสเลือดของสุนัข ซึ่งจะแตกต่างจาก Hepatozoon ที่จะติดต่อโดยสุนัขบังเอิญเลียกินเอาเห็บที่ติดเชื้อเข้าไป และใช้เวลาประมาณ 2 อาทิตย์ในการกระจายตัวสู่อวัยวะต่างๆ ส่วนใหญ่เจ้าของจะทราบต่อเมื่อปรากฏอาการ

          อาการ : เมื่อสุนัขได้รับเชื้อเข้าไปแล้ว เชื้อโรคก็จะแอบแฝงอยู่ในเม็ดเลือด โดยในระยะแรกสุนัข อาจไม่แสดงอาการอะไร แต่เมื่อใดที่ร่างกายอ่อนแอลง หรือตัวหน้อหมาเกิดความเครียดมากๆ ขึ้น เชื้อโรคก็จะเพิ่มจำนวนมากขึ้นตามไปด้วย จนทำให้เม็ดเลือดที่ติดเชื้อแตกออก หรือมีรูปร่างเปลี่ยนแปลงไปจากปรกติซึ่งจะถูกม้ามทำลายทิ้ง เมื่อเม็ดเลือดถูกทำลายมากกว่าที่ไขกระดูกจะสร้างทดแทนได้ทัน ก็จะเกิดปัญหา “โลหิตจาง” ตามมา
โดยจะพบว่าเหงือกของน้องหมาจะมีสีซีดขาว และอาการโลหิตจางเป็นนานวันเข้า ก็จะมีผลกระทบกับหัวใจ ไต ของน้องเค้า ซึ่งจะทำให้น้องเค้าเหนื่อยง่ายมากขึ้น หรืออาจจะทำให้หัวใจวายได้ตามมาค่ะ นอกจากนี้พยาธิในเม็ดเลือดยังทำให้ผนังหลอดเลือดอักเสบทำให้เกิดปัญหา “เลือดออกง่าย” ตามมา หลายท่านคงเคยมีประสบการณ์ที่จู่ ๆน้องหมา “เลือดกำเดา” ไหลเองโดยไม่ได้เกิดจากการกระทบกระแทกใช่ไหมคะ
หรืออยู่ๆ ผิวหนังของน้องหมาก็มี “จ้ำเลือด” ปรากฎขึ้นมาเหมือนรอยช้ำแดงทั้งที่ไม่ได้ถูกตี ถ่ายอุจจาระก็อาจจะมีเลือดปน ถ่ายปัสสาวะเป็นสีเข้มเหมือนสีโค้ก นอกจากนี้พยาธิในเม็ดเลือดยังสามารถเหนี่ยวนำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันของร่างกายทำให้เกิดการทำลายของเม็ดเลือดแดง หรือเกล็ดเลือด

4.โรคฮีทสโตรก (Heatstroke) หรือ โรคลมแดด

          เนื่องจากสุขัขพันธุ์นี้เป็นสุนัขหน้าสั้น ฉะนั้นการเกิดอาการโรคนี้จึงอาจเกิดได้บวกกับสภาพอากาศของประเทศไทยด้วย เนื่องจากโดยปกติสุนัขจะระบายความร้อนผ่านการหายใจ แต่เมื่ออุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นจนไม่สามารถถ่ายเทความร้อนออกจากร่างกายได้รวดเร็วพอ ทำให้สุนัขสูญเสียการควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย จึงเกิดอาการโรคฮีทสโตรก (Heatstroke) หรือ โรคลมแดดตามมาและอาจเริ่มเป็นอันตรายกับตับ ไต หัวใจ รวมไปถึงสมอง ซึ่งส่วนใหญ่มักพบได้ในสุนัขพันธุ์ใหญ่ที่ขนยาวและสุนัขพันธุ์หน้าสั้น รวมไปถึงสุนัขที่มีโรคเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ ปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ หรือ เคยมีประวัติโรคลมแดดมาก่อน
อาการร้อนๆ จึงควรหลีกเลี่ยงไม่ให้สุนัขอยู่ในสถานที่ที่อากาศร้อนมากเกินไปและมีความชื้นสูง โดยเฉพาะพื้นที่ที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก อย่าง ในรถ หรือ ในห้องปิดทึบ และ หลีกเลี่ยงกิจกรรมหรือการออกกำลังกายที่หนักเกินไปด้วย

อาการ.
          1.ตัวร้อนหรือมีอุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้นผิดปกติ (สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส)
          2.อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นสูงและหัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ
          3.มีอาการหายใจลำบาก กระหายน้ำรุนแรง น้ำลายเหนียวหรือน้ำลายไหลมาก
          4.ร่างกายดูเหนื่อยล้าอ่อนเพลีย มีอาการเซ สับสนมึนงง และ กล้ามเนื้อสั่นกระตุก
          5.ปัสสาวะน้อยหรือแทบไม่ปัสสาวะเลย
          6.จมูกแห้ง เหงือกมีสีแดงเข้มแล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินหรือม่วง
          7.บางตัวอาจมีเลือดออกเป็นจุดตามลำตัว
          8.บางตัวอาจมีอาการอาเจียน ถ่ายเหลว หรือ ถ่ายเป็นเลือด
          9.มีภาวะช็อก อาจเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นหรือหยุดหายใจ
          ทั้งนี้อาการความรุนแรงขึ้นอยู่กับขนาด รูปร่างของสุนัข และ ระยะเวลาที่ร่างกายได้รับความร้อน

วิธีการรักษา
          1.นำสุนัขออกจากบริเวณที่มีความร้อนสูง มาอยู่ในที่ร่มและมีลมโกรก
          2.ให้สุนัขดื่มน้ำเปล่าในอุณหภูมิห้องทีละน้อย แต่ไม่ควรบังคับ หากสุนัขไม่ยอมดื่มด้วยตัวเอง
          3.ค่อยๆ ปรับอุณหภูมิร่างกายของสุนัขด้วยการเช็ดตัวหรือเอาน้ำลูบใต้ฝ่าเท้า (อาจใช้แอล์กอฮอชุปสำลีเช็ดบริเวณฝ่าเท้าก็ได้เช่นกัน)แต่อย่าเปลี่ยนอุณหภูมิในร่างกายแบบกระทันหัน เพราะ อาจทำให้เกิดอาการอื่นๆ ตามมา เช่น หัวใจวายเฉียบพลัน
          4.พาไปพบสัตวแพทย์

Related Post

มามะ..เรามาแปรงฟันให้น้องหมากันเถอะมามะ..เรามาแปรงฟันให้น้องหมากันเถอะ

จะเกิดอะไรขึ้นถ้าเราเลิกแปรงฟัน?? ปัญหาช่องปากและกลิ่นลมหายใจก็คงจะตามมาเป็นพรวน!! น้องหมาก็เหมือนกับคนเรานี่แหละค่ะ ตามทฤษฎีแล้วเราควรจะแปรงฟันให้กับน้องหมาอย่างน้อย 2 ครั้งต่อวัน ซึ่งการแปรงฟันให้กับน้องหมานั้น ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด วันนี้ขอนำเอาขั้นตอนการแปรงฟันให้กับน้องหมามาฝากค่ะ การแปรงฟันให้กับน้องหมาทุกวันนั้น ช่วยลดการสะสมของคราบหินปูน แม้ว่าโดยปกติแล้วน้องหมาจะไม่ค่อยมีฟันผุ แต่หินปูนก็อาจจะก่อให้เกิดโรคอื่นๆ และปัญหากลิ่นปากมารบกวนสุขภาพของพวกมันได้ ยกตัวอย่างเช่น โรคเหงือกอักเสบ ซึ่งอาจจะเป็นสาเหตุให้ฟันน้องหมาหลุดหลอไปเลยทีเดียว ขั้นตอนการแปรงฟันให้น้องหมา ขั้นที่ 1 : เลือกแปรงสีฟันสำหรับสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะ อย่าคิดว่าใช้แปรงสีฟันสำหรับเด็กกับน้องหมาก็ได้นะคะ เพราะว่าถึงจะเป็นแปรงสำหรับเด็ก แต่ขนแปรงก็ยังแข็งเกินไปสำหรับน้องหมา แปรงสีฟันที่เหมาะสมสำหรับน้องหมานั้น จะต้องมีด้ามจับที่ยาว หัวแปรงโค้งงอได้มุมสำหรับช่องปาก และมีขนแปรงที่อ่อนนุ่มมากเป็นพิเศษ สำหรับน้องหมาที่มีขนาดตัวน้อยกว่า 30

Shiba Inu

Shiba InuShiba Inu

สุนัขชิบะจะหน้าตาเป็นมิตรจนได้ชื่อว่าเป็นสุนัขยิ้มเก่ง แต่ด้วยนิสัยส่วนตัวที่ไม่เหมือนใครจึงทำให้สุนัขชิบะมีเสน่ห์ในแบบของมัน ในทางกลับกันลักษณะนิสัยดังกล่าวถ้าไม่มีความเข้าใจในสายพันธุ์อาจจะทำให้เกิดปัญหาตามมา เรามาลองมาดูกันค่ะว่าควรดูอะไรบ้าง สุนัขชิบะเป็นสุนัขพลังงานระดับกลาง คือต้องการ การออกกำลังกายที่สม่ำเสมอโดยบ้านที่เหมาะกับสุนัขชิบะควรมีพื้นที่ให้วิ่งเล่น หรือพาวิ่งออกนอกบ้านโดยทั่วไปเช้าและเย็นก็เพียงพอ อีกทั้งต้องมีรั้วที่ถี่และสูงเพื่อกันไม่ให้สุนัขชิบะหนีออกไป สุนัขชิบะบางตัวสามารถปีนรั้วที่มีความสูง 1 เมตร หรือสามารถปีนป่ายของในบ้านและกระโดดข้ามออกนอกรั้วไปแม้รั้วจะมีความสูงเกือบ 2 เมตร สามารถเรียกได้ว่าเป็นนินจาน้อยเลยค่ะ และผลของการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอนอกจากจะทำให้สุนัขแข็งแรงมีกล้ามเนื้อแล้ว ยังลดการกัด ทำลายของในบ้านได้อีกด้วยค่ะ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสุนัขชิบะ สุนัขชิบะไม่เหมาะแก่การเฝ้าบ้าน ด้วยขนที่หนาจึงไม่เหมาะกับการไว้นอกบ้าน อาจจะทำให้เป็นฮีทสโตรก(หรือโรคลมแดด ถึงขั้นตายได้ถ้าไม่ได้รับการปฐมพยาบาล) และปัญหาอื่น ๆ ตามมา สุนัขชิบะเป็นสุนัขที่ดุกับสุนัขด้วยกัน โดยเฉพาะเพศเดียวกัน) จึงไม่เหมาะที่ผู้เลียงสุนัขมือใหม่จะมีสุนัขชิบะเพศเดียวกันหลายๆ ตัวภายในครั้งเดียว

โรคในสุนัขและแมวที่เจ้าของต้องระวังโรคในสุนัขและแมวที่เจ้าของต้องระวัง

การเลี้ยงสุนัขและแมว จำเป็นที่ต้องดูแลทั้งเรื่องอาหาร ที่นอน สิ่งแวดล้อม และการฉีดวัคซีนป้องกันโรคร้ายต่าง ๆ ซึ่งสุนัขและแมวที่ได้รับการดูแลเอาใจใส่อย่างดีจะมีสุขภาพที่แข็งแรงและมีความร่าเริง อายุขัยยืนยาวได้นานนับสิบปี โรคอ้วน ไม่ใช่คนเท่านั้นที่เป็นโรคอ้วนได้ สัตว์เลี้ยงใกล้ตัวอย่างสุนัขและแมวก็ป่วยเป็นโรคอ้วน มีภาวะน้ำหนักเกินได้เช่นกัน ส่วนใหญ่เกิดจากการตามใจให้อาหารคาวหวานและขนมต่าง ๆ แก่สัตว์เลี้ยง เวลามาขอ ซึ่งอาจดูเป็นพฤติกรรมที่น่ารัก แต่ก็ทำให้สัตว์ป่วยและเป็นโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น โรคหัวใจ โรคไขข้อเสื่อมได้ โรคพยาธิหนอนหัวใจ โรคนี้ขึ้นชื่อว่าร้ายแรง โดยเฉพาะสำหรับสุนัขที่เลี้ยงในพื้นที่เปิด ไม่มีอุปกรณ์ช่วยกันยุง พยาธิหนอนหัวใจจะอาศัยยุงเป็นพาหะนำโรค หากกัดที่สุนัขจะมีอาการเซื่องซึมลงอย่างมาก การเดินหรือวิ่งเล่นจะน้อยลง