Bishopbark เรื่องน่ารู้ การเลี้ยงเต่าซูคาต้า

การเลี้ยงเต่าซูคาต้า

การเลี้ยงเต่าซูคาต้า post thumbnail image

เต่าซูคาต้าหรือที่ใครหลายๆคนนั้นเรียกว่าเต่าซู ที่เป็นเต้ามาจากแอฟริกาเหนือเต่าซูคาต้าเป็นสัตว์หายากในหลายๆประเทศจึงทำให้ใครหลายๆคนนิยมนำเข้ามาเลี้ยงและความพิเศษของมันนั้นมันเองที่มีความสามารถในการปรับตัวอย่างยอดเยี่ยมต่อสภาพอากาศหลายๆรูปแบบ อีกทั้งค่าตัวก็ไม่แพงเท่าไหร่ และนิสัยขี้สงสัยชอบเดินดูโน่นดูนี่ ทำให้มันมักจะถูกเลือกเป็นตัวเลือกแรกของบรรดาผู้เลี้ยงเต่าบกมือใหม่

เต่าซูคาต้านั้นสามารถหาซื้อได้ทั่วไปในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะรัฐทางใต้ เพราะสภาพอากาศเอื้อต่อการเลี้ยง สามารถปล่อย outdoor ได้ทั้งปี ดังนั้นมันก็หาซื้อได้ง่ายๆตามร้านค้าสัตว์ทั่วไป หรืองานขายสัตว์ expoต่างๆ หรือซื้อโดยตรงจากผู้เพาะพันธ์เลยก็ยังได้ สิ่งสำคัฐที่ต้องคำนึงถึงคือเต่าซูคาต้านั้นเป็นเต่าที่มีปัญหาเรื่องนิ่ว สามารถสังเกตได้ถ้ามาจากป่าเต่าจะขนาดใหญ่มาก ส่วนเต่าตัวตัวเล็กๆนั้นจะมาจากการเพาะพันธ์ในสหรัฐ (บทความแปล ในไทยสามารถหาซื้อได้จากกลุ่มเว็ปไซต์ซื้อขาย เต่าบกต่างๆ หรือที่สวนจตุจักร)การตั้งราคาเต่าเด็กนั้นจะหลากหลายมาก ขึ้นอยู่กับแหล่งที่มา ขนาด อายุ หรือแม้แต่ฤดูฟักไข่ (ช่วงที่เต่าเกิดเยอะๆ ราคาจะถูกลง) เมื่อไหร่ก็ตามที่มันใหญ่พอจะสามารถระบุเพศมันได้ว่าเป็นเพศเมีย ราคาขะขึ้นสูงมาก เพราะสามารถนำไปขยายพันธ์ต่อได้ ขนาดของเต่าซูคาต้าเต่าแรกเกินนั้นจะมีขนาดกระดองอยู่ที่ 1 นิ้วครั้ง – 2 นิ้ว ส่วนอัตราการเติบโตนั้นจะแต่งตากจากเต่าบกชนิดอื่นๆ คุณอาจจะเลี้ยงให้มันมีขนาด 10 นิ้วได้ภายใน 3 ปี แต่บางตัวอาจจะใช้เวลาถึง 10 ปี เต่าไซส์ที่โตแล้วมักจะมีน้ำหนักที่มากกว่า 45 กิโลกรัม แต่ก็ไม่ใช่ทุกตัวที่จะหนักขนาดนั้น ซึ่งทางผู้เขียนบทความนี้ ก็เลี้ยงอยู่หลายตัวที่น้ำหนักตัวไม่เยอะ

“แม่พันธ์ตัวใหญ่ของเรามันหนักแค่ 32 – 40 กิโลกรัมเท่านั้น แถมยังโตช้าอีกต่างหาก” เต่าชนิดนี้ (โดยเฉพาะตัวผู้) สามารถหนักได้มากถึง 90 กิโลกรัม ถ้าถึงไซส์นั้นได้แสดงว่าแก่มากแล้ว เต่าซูคาต้าจะโตเร็วมากในช่วง 5 – 10 ปีแรก และจะค่อยๆโตอย่างช้าๆ ไปตามอายุไขของมันอายุไขของเต่าซูคาต้าเพราะเต่าซูคาต้าบางตัวไม่ได้ถูกเลี้ยงมาตั้งแต่เกิด จึงยากที่จะระบุอายุของมันได้ แต่ถ้ามันถูกเลี้ยงอย่างดีด้วย อาหารไฟเบอร์สูง และเป็นเต่าที่ปรับตัวได้อย่างดี (เช่น ลูกเพาะ) มักจะมีอายุยืนยาวกว่าปกติ ซึ่งโดยปกติมันจะสามารถมีชีวิตอยู่ได้นานกว่า 70 ปีสถานที่เลี้ยงเต่าซูคาต้าเพราะขนาดตัวที่ใหญ่ของมัน เต่าซูคาต้าจึงเหมาะสำหรับผู้เลี้ยงที่มีพื้นที่ outdoor เยอะ เพราะสามารถเลี้ยงมันไว้นอกบ้านได้ตลอดทั้งปี ผู้เขียนได้เลี้ยงเต่าซูไว้ในพื้นที่ที่เซตไว้ให้เป็นแบบทะเลทราย โดยปลูกหญ้าไว้ตรงกลาง และดินโคลนอยู่รอบนอก เพราะเต่าชนิดนี้มันจะเดินไปสำรวจตามมุมต่างๆ เราเลยให้มีดินอยู่รอบนอก เพราะถ้าเอาหญ้าไปปลูกไว้รอบๆ หญ้าคงโดนเหยียบตายหมดเต่าซูนั้นควรจะเลี้ยงในที่กั้นหรือกำแพงที่สูงกว่า 24 นิ้ว และกำแพงลึกลงไปในดิน 12 ถึง 24 นิ้ว เพื่อป้องกันการถูกเต่าขุด อิฐบล็อกคอนกรีตนั้นใช้งานได้ดี หรือกำแพงไม้ก็เหมาะจะใช้เป็นรั้วเช่นกัน ไม่ควรใช้รั้วหรือกำแพงที่เต่ามองออกไปได้ เพราะมันจะพยายามหนีออกจากกำแพงนั้นเต่าซูคาต้าจะเริ่มขุดรูหรือโพลง ถ้ามันไม่มีที่หลบร้อนหลบหนาว ซึ่งรูหรือโพลงนี้เราควรจะเอาหินปูไว้หลังจากที่มันขุดรูแล้ว เพื่อกันไม่ให้มันขุดลึกลงไปอีกในอนาคต ถ้าเลี้ยงเต่าตัวเดียว เราสามารถปล่อยให้มันขุดได้ตามใจชอบอยู่แล้ว แต่ถ้าเกิดเลี้ยงหลายตัว มันจะชอบไปอัดกันในรูเดียว ทำให้ตัวที่อยู่ในสุดออกมาไม่ได้เต่าซูคาต้าเป็นเต่าเล็มหญ้า มันจะกินหญ้าทุกชนิดในพื้นที่ของมัน เราปลูกหญ้าหลายชนิด รอบถึงพืชทะเลทราย และต้นไม้แอฟริกาเพื่อการตกแต่ง ส่วนพืชที่ไม่ทนทานก็จะถูกเต่าทำลาย เมื่อเต่าโตเท่าพืชนั้นๆเต่าซูคาต้าเด็กนั้นสามารถ

เลี้ยง indoor ได้ แต่ถ้าจะเลี้ยง outdoor อุณหภูมิต้องมีความเหมาะสม หลายๆคนเลี้ยงเต่าซูในบ้านช่วงอายุแรกๆ ลังพลาสติกอาจจะเหมาะที่สุดสำหรับการเลี้ยงในบ้าน หรือก็แล้วแต่ที่คุณสะดวก พาชนะนั้นจะเล็กจะใหญ่ก็แล้วแต่ว่าคุณจะใส่อุปกรณ์ลงไปแค่ไหน ในช่วงฤดูหนาว คุณอาจจะทำพาชนะเผื่อไว้าหรับเต่าใหญ่ที่ต้องหลบหนาวในบ้าน แต่ที่หลบนั้นก็ต้องอบอุ่นสบายสำหรับเต่าด้วยลูกเต่าซูคาต้าที่เราเลี้ยงไว้นั้นจะมีโซนชื้น ให้มันได้รับความชื้นเหมือนตามโพลงในธรรมชาติของมัน โดยการจำลองความชื้นนี้จะช่วยให้กระดองขยายมากขึ้น และทำให้มันไม่ขาดน้ำ เต่าที่เลี้ยงในความชื้นที่ไม่เหมาะสม มักจะสูญเสียน้ำอย่างรวดเร็ว ทำให้กระดองปูดที่รองพื้นนั้นสามารถใช้ได้หลายชนิดมาก แต่สำหรับเต่าบกนั้น เปลือกไม้ เหมาะมากที่จะใช้ปูพื้น มันดูดความชื้นได้ ปลอดภัย และราคาถูก ตัวเลือกอื่นอาจใช้ หญ้าชนิดต่างๆ เช่น อัลฟาฟ่า ทิโมธี เบอร์มูด้า และอื่นๆ แม้แต่ขุยมะพร้าวหรือพีชมอสก็สามารถใช้ได้ ส่วนการเลี้ยง outdoor นั้นไม่จำเป็นต้องใช้ที่รองพื้น ควรใช้ดินที่เป็นธรรมชาติปลอดสารเคมีหรือปุ๋ยผู้เขียนยังแนะนำการใช้หินเรียบสำหรับเลี้ยง indoor เพราะมันช่วยลับเล็บเต่า แลทำให้พื้นที่สะอาดสำหรับอาหาร (ใช้หินจะเลอะเทอะน้อยกว่า)การใช้ไฟและอุณหภูมิเต่าซูที่เลี้ยง outdoor จะทนต่ออุณหภูมิที่หลากหลาย อุณหภูมิที่สูงนั้นจะไม่เป็นปัญหา ถ้ามีร่มเงาให้เต่าหลบได้ ส่วนอุณหภูมิที่ต่ำ เต่าก็สามารถทนได้ต่ำถึง 7 องศา แต่ในที่หลบนั้นควรมีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 13 ถึง 16 องศา (21 องศา จะดีมาก) หรือไม่ก็นำเต่าเก็บเข้าบ้านในช่วงหน้าหนาว ในบางพื้นที่นั้นอาจหนาวถึง -6 องศา (เช่นลาสเวกัส) ดังนั้นถ้าเราปล่อยเต่าไว้ outdoor จึงควรมีการตรวจดูทุกวันในช่วงเย็นว่า เต่ามันเข้าไปหลบในที่ของมันหรือยัง ไม่ควรให้มันนอนหลับอยู่ในที่โล่งเพราะจะเสี่ยงต่อการเจออุณหภูมิที่หนาวตอนกลางคืนตรงๆถ้าเลี้ยงแบบ indoor สามารถเลี้ยงตามอุณหภูมิห้องได้เลย (20-26 องศา) แต่ควรจะมีโซนอาบแดดโดยใช้โคมไฟช่วย ซึ่งโซนดังกล่าวควรมีความร้อนอยู่ในช่วง 37 องศา

ก็เหมือนสัตว์ที่ใช้ชีวิตตอนกลางวันปกติ พวกสัตว์เลื้อยคลานกินพืช จะต้องใช้แสงไฟ UVB ในการช่วยนำแคลเซียมจากอาหารที่กินมาใช้กับร่างกาย ควรเปิดไฟไว้ 12 ถึง 14 ชั่วโมง แล้วค่อยปิดในช่วงเวลากลางคืนอาหารเต่าซูคาต้าเต่าซูคาต้าเป็นเต่าที่กินได้ตลอดเวลา หายากมากที่มันจะไม่สนใจอาหาร ในเต่าขนาดใหญ่ อาหารที่ดีที่สุดคือหญ้าและใบไม้ชนิดต่าง ๆ ให้เหมือนกับอาหารตามธรรมชาติของมัน มันจะกินหญ้าทุกชนิด เมื่อขนาดใหญ่ขึ้นมันจะเริ่มกินหญ้าแห้งได้ แต่เต่าเล็กจะมีปัญหาในการกินหญ้าแห้ง เพราะขากรรไกรมันยังไม่แข็งแรงพอทางผู้เขียนบางครั้งยังให้ผักผสมหลายชนิด (ส่วนใหญ่ให้กับเต่าเด็ก) โดยจะผสมใบไม้หลายๆชนิด เช่น หัวผักกาด และผักกาดหอม กระบองเพชรเสมาก็เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งของเราเหมือนกัน และเรายังให้กินมาซูริในบางครั้ง เพื่อทดแทนสารอาหารที่ยังขาดไปจากพวกพืชผัก การให้อาหารก็มีหลายแบบ เช่น ให้กินบนพื้นหญ้า บนแผ่นหินหรือคอนกรีต หรือในถาด เพื่อป้องกันเต่ากินดินหรือหินเข้าไป อย่าให้อาหารโดยวางบนพื้นดินโดยตรงเต่าซูคาต้ากับน้ำควรมีถาดน้ำเล็ก ๆ ให้กับมัน ในกรณีที่เลี้ยง outdoor ทางผู้เขียนใช้พาชนะที่ตื้นและขอบต่ำ เป็นพาชนะเคลือบเพื่อให้ทำความสะอาดง่ายขึ้น การทำความสะอาดนั้นควรทำเป็นประจำ เพราะเต่ามันจะเดินไปแช่น้ำ และถ่ายลงในน้ำ ผู้เขียนจะใส่ถาดน้ำไว้ในช่วงเดือนที่อากาศร้อนมาก ส่วนในฤดูหนาวจะไม่ใส่ไว้ ผู้เขียนยังทำ โพลงดิน และโซนถาดน้ำเล็กๆ ไว้ให้เต่าคลายร้อนในช่วงฤดูร้อนอีกด้วย เต่าที่อยู่ในพื้นที่ ที่มีฝนตกจะกินน้ำจากถาดน้ำ และใบไม้ได้ ดังนั้นถ้าเต่าคุณอยู่ในที่แล้ง เช่น ลาสเวกัส คุณควรให้น้ำมันบ้าง เพื่อไม่ให้มันขาดน้ำถ้าเลี้ยงเต่า indoor ผู้เขียนเลือกจะไม่ใส่ถาดน้ำเพราะเต่ามักจะถ่ายเมื่อตัวมันเปียก เวลาเต่าชนิดนี้ยืนบนน้ำตื้น มันมักจะดื่มน้ำเข้าไป และถ่ายออกมาทันทีในเวลาเดียวกัน ดังนั้นจึงควรนำเต่าออกมาแช่น้ำอุ่น อาทิตย์ละ 1 – 3 ครั้ง ประมาณ 10 – 15 นาที ไม่ว่าจะเลี้ยง

indoor หรือ outdoorสุขภาพของเต่าซูคาต้าจะดีที่สุดถ้า ซื้อเต่าที่ดูคึก แอคทีฟตลอดเวลา ตาใส สะอาด หรือซื้อจากผู้ขายที่มีเครดิตดี และ (อย่างน้อย) ควรมีรับประกันหลังรับของ เต่าชนิดนี้สามารถป่วยได้จากโรคทั่วไป โดยเฉพาะโรคติดเชื้อในทางเดินหายใจที่พบได้บ่อย เต่าซูมักจะมีโอกาสป่วยโรคติดเชื้อในทางเดินหายใจจากการที่ มันต้องอยู่ในสภาพอากาศเย็นหรือชื้น ดังนั้นจึงควรรีบทำให้ตัวมันแห้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่ออากาศเริ่มหนาวเย็นการจับเต่าและอารมณ์ของเต่าอาจจะต่างกับที่คนขายบอกกับคุณ เพราะเต่าบกนั้นไม่ควรจะจับขึ้นมาถือ พวกมันเครียดง่ายมากจากการถูกอุ้ม ถือมากเกินไป และเด็กๆที่ถือเต่ามักจะโยนมันทิ้งเพราะตกใจ ซึ่งปัจจัยความเครียดนั้นอาจส่งผลให้เต่าหยุดทำกิจกรรมต่างๆและสุขภาพแย่ลงส่วนในเต่าใหญ่นั้นจะทนต่อการจับและการอุ้ม แต่ก็ควรอุ้มเต่าทุกชนิดอย่างระมัดระวัง ไม่ควรจับมันพลิกหงายท้อง หรือหยุดมันไม่ให้เดิน ควรจะปล่อยให้มันเดินไปตามทางของมัน โดยเฉพาะพวกเต่าวัยรุ่น ส่วนเต่าใหญ่นั้นจะถึกทนชินกับคนอยู่แล้ว

Related Post

ทำไมสุนัขถึงสะอึก (hiccup) ?ทำไมสุนัขถึงสะอึก (hiccup) ?

 การสะอึก (hiccup) ก็เป็นอีกอาการหนึ่งที่เกิดขึ้นได้ในสุนัขเช่นเดียวกับในคน หลายคนมองว่าน่ารักดีเวลาที่สุนัขสะอึก แต่บางคนก็อาจเกิดความกังวลว่าจะเป็นอันตรายกับสุนัขหรือไม่ บทความนี้จะพาเพื่อน ๆ ไปทำความรู้จักการสะอึกในสุนัข เจาะลึกถึงสาเหตุ และวิธีการช่วยสุนัขที่สะอึกว่าต้องทำอย่างไร ถ้าพร้อมแล้วตามมาดูกันเลยครับ     สาเหตุของการสะอึกในสุนัข       กระบังลมเป็นกล้ามเนื้อที่กั้นระหว่างช่องอกกับช่องท้อง มีความเกี่ยวข้องกับเวลาที่น้องหมาหายใจ คือ เมื่อเวลาที่น้องหมาหายใจเข้า กะบังลมจะหดตัวและเคลื่อนตัวลง ทำให้ช่องอกขยายตัวมากขึ้น แต่เมื่อน้องหมาหายใจออก กะบังลมจะคลายตัวและเคลื่อนตัวขึ้นสู่ช่องอก ซึ่งการเคลื่อนตัวก็จะเป็นจังหวะเช่นนี้ไปตลอดในยามปกติ แต่เมื่อใดที่กล้ามเนื้อกะบังลมเกิดการหดตัวผิดจังหวะ (กระตุก) อย่างกระทันหัน ก็จะเกิดอาการที่เราเรียกว่า สะอึก (hiccup) นั่นเอง       โดยการหดตัวที่ผิดจังหวะนี้ส่งผลให้เกิดการหายใจเข้าอย่างรวดเร็ว เป็นจังหวะเดียวกับที่กล่องเสียงเกิดการปิดลงกระทันหัน จากการหดตัวของกล้ามเนื้อกล่องเสียง

Laekenois สุนัขพันธุ์หายากที่มีไม่ถึงพันตัวทั่วโลกLaekenois สุนัขพันธุ์หายากที่มีไม่ถึงพันตัวทั่วโลก

 ใครจะไปคิดครับว่า ในโลกนี้มีสุนัขพันธุ์หนึ่งที่หายากยิ่งกว่าสัตว์ป่าใกล้สูญพันธุ์บางชนิด ข้อมูลจาก The American Kennel Club หรือ AKC บอกว่า ทั่วโลกมีจำนวนสุนัขพันธุ์ Belgian Laekenois ไม่ถึง 1,000 ตัวเท่านั้น น้อยกว่าจำนวนของแพนด้าเสียอีก เพื่อน ๆ อาจจะได้เคยได้ยินชื่อสุนัขจากเบลเยี่ยมกันมาบ้าง เช่น สุนัขพันธุ์เบลเยี่ยม มาลีนอยล์ แต่เชื่อได้เลยว่าสุนัขพันธุ์นี้นั้น น้อยคนนักที่จะรู้จักกับ Belgian Laekenois น้องเพิ่งจะได้รับการจัดให้อยู่เข้าให้กลุ่มสุนัขต้อนแกะ (Herding) จาก AKC เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม

10 อันดับสุนัขยอดฮิตที่คนทั้งโลกเลี้ยง10 อันดับสุนัขยอดฮิตที่คนทั้งโลกเลี้ยง

ปัจจุบันการเลี้ยงสุนัขเป็นที่นิยมในไทยเป็นอย่างมาก วันนี้ทางเราจะนำ 10 อันดับสุนัขยอดฮิตที่คนทั้งโลกเลี้ยง มาให้เพื่อนๆได้ชมกัน ไปดูกันเลยยยย อันดับที่ 1 ลาบราดอร์ รีทรีฟเวอร์ (Retrievers Labrador) เจ้าสุนัขที่ทำหน้าชอบยิ้มแป้นแล้นให้กล้อง มักโผล่มาตามโฆษณาทีวีหรือบนหน้าถุงอาหารยี่ห้อดังต่างๆ เป็นสุนัขที่มีร่างกายกำยำ แข็งแรงซึ่งได้รับมาจากสายเลือดพันธุ์นักล่าแต่เก่า ลาบราดอร์เป็นสุนัขที่ฉลาดหลักแหลม กระตือรือร้น ช่างเอาใจ แต่ก็หนักแน่น ทักษะการล่าและประสาทสัมผัสดีมาก มักถูกใช้เป็นสัตว์กู้ภัยอยู่บ่อยครั้ง มีความรักต่อครอบครัว เป็นมิตรกับสัตว์อื่น มีสุขภาพที่ดี ท่าทางที่สุขุม ชอบวิ่งเล่น มั่นใจ ไม่เห่าพร่ำเพรื่อ มีความเป็นผู้นำ