Bishopbark เรื่องน่ารู้ แบนด๊อก คืออะไร ดุร้ายจริงไหม

แบนด๊อก คืออะไร ดุร้ายจริงไหม

แบนด๊อก คืออะไร ดุร้ายจริงไหม post thumbnail image

เขาคงได้เห็นข้าวกันแล้วที่มีสุนัขดุร้ายได้ทำร้ายเจ้าของจนถึงกับชีวิต และมีข้อสงสัยอยู่นั้นก็คือ สุนัข แบนด๊อก มันเป็นคำที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน ว่ามันคืออะไรวันนี้เราจะพาท่านมาหาคำตอบในเจ้า แบนด๊อก กันว่ามันมีนิสัยที่ดุร้ายเป็นสุนัขต้องห้ามเลี้ยงและทำไมถึงยังมีสุนัขที่ดุร้ายขนาดนี้เลี้ยงอยู่ตามบ้านได้

หมาพิตบูลลูกผสมทุกตัว ไม่ว่าจะผสมกับ อิงลิช มาสตีฟ, เฟรนซ์ มาสตีฟ, บูล มาสตีฟ, โดโก้อาเจนติโน, คอร์ซ่า คานารีโอ, ร๊อตไวเลอร์ ฯลฯ โดยมีเจตนาเพื่อต้องการเพิ่ม ขนาดของร่างกาย เพิ่มแรงในการปะทะ เพื่อนำไปทำกิจกรรมบางประเภท เช่น การใช้ล่าสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ เขาเรียกว่า Bandog แต่ที่ผมทราบมา ส่วนมากจะนิยมผสมกับ บูลมาสตีฟ เพราะได้ผลออกมาดีที่สุด คือได้ทั้งขนาด รูปร่างหน้าตา และยังคงมีความกล้าหาญ มีแรงขับเหมือนพิตบูล เพื่อใช้ในเกมส์ล่าหมูป่ากิจกรรมที่นิยมกันมากในบางพื้นที่ของ อเมริกา แต่เขาจะเรียกหมาเหล่านี้ว่า แบนด๊อกทั้งหมด เพราะการนำพิตบูลไปผสมกับหมาพันธ์อื่น ถือเป็นข้อห้ามร้ายแรง ผสมได้แต่ห้ามจำหน่ายหรือขยายพันธ์ต่อ ลูกสุนัขส่วนเกินจะโดนกำจัดทิ้งทั้งหมด ใครฝ่าฝืนจะโดนแบน เลยเรียกว่า แบนด๊อกไงละครับ

 

เมื่อก่อนในอเมริกา หมาลูกผสมพิตบูล เป็นเรื่องซีเรียสมาก เพราะเขาให้ความสำคัญเรื่องความปลอดภัย เขาจึงพยายามลดขนาดของพิตบูลสายพันธ์แท้ลง เพื่อให้สามารถควบคุมได้ง่าย ดังนั้น ใครเอาหมาลูกผสมมาจำหน่าย หรือส่งลงแข่งลากน้ำหนัก จะโดนตราหน้ารุมประนามว่าเป็นคอกขี้โกง ไร้จรรยาบรรณ จะอับอาย จนต้องออกจากวงการ ถึงไม่ยอมออก ก็ไม่มีใครคบค้าสมาคมด้วยอยู่ดี …. แต่วันนี้โลกไร้พรมแดน อินเตอร์เน็ตมีบทบาทมาก จากเดิมที่ใช้การลงโฆษณาคอกสุนัขในนิตยสาร ได้เปลี่ยนมาลงโฆษณากันอย่างอิสระผ่านทางเว็บไซต์ จากสังคมเล็กๆ ได้ขยายออกไปอย่างไร้ขอบเขต คนที่เคยกลัวการโดนแบนก็เริ่มไม่กลัว เพราะตลาดการขายลูกสุนัขมันกว้างขึ้น วิธีการแบนออกจากสังคม เริ่มไม่ได้ผล …. 

 

ในประเทศไทย เริ่มมีการนำแบนด๊อกเข้ามา เพราะคนไทยนิยมหมาตัวใหญ่ๆ แต่ยุคนั้นไม่มีใครกล้ายอมรับว่าหมาตัวเองเป็นแบนด๊อก จึงโฆษณากันว่าเป็น พิตบูล เพราะเป็นชื่อที่ขายง่าย จนคนเกิดความสับสน ไม่รู้ว่าพิตบูลแท้เป็นอย่างไร คนภายนอกเขามองว่าพิตบูลแท้ต้องตัวใหญ่ๆ พิตบูลตัวเล็กผอมบางเป็นลูกผสม ผมเป็นคนแรกที่กล้าพูดเรื่องแบนด๊อก และกล้าประกาศว่าหมาผม เป็นแบนด๊อก ซึ่งก็คือเจ้าทวิส ตัวในรูปนี่เอง แต่ช่วงแรกๆ ผมโดนโจมตีอย่างหนัก หาว่ามีเจตนาร้ายต้องการกลั่นแกล้งคนอื่น เป็นคนทำลายวงการพิตบูล จนโดนคอกหมาหลายๆคอก ตามรุมถล่มมาโดยตลอด แต่วันนี้คำว่า แบนด๊อก กลายเป็นเรื่องธรรมดามากในสังคมไทย …. มันก็ตลกดี !!

 

ส่วนคำว่า บัฟด๊อก มันเป็นเพียงชื่อคอกสุนัขคอกหนึ่งในอเมริกาเท่านั้นครับ ไม่ใช่ชื่อเรียกสุนัข ผมก็ไม่รู้ว่ามั่วกันมาได้อย่างไร ใช้อะไรเป็นมาตรฐาน และบัฟด๊อกมันต่างจากแบนด๊อกอย่างไร … ดังนั้น ก่อนจะทำอะไร ก่อนจะโม้อะไร ก็ควรรู้ให้จริง จะได้ไม่มั่วครับ … สงสารมือใหม่และคนที่อยากเลี้ยงพิตบูล สายพันธ์แท้จริงๆบ้างเถอะ .. ถ้าไม่ช่วยอนุรักษ์ ก็อย่าทำลาย !!

Related Post

รีวิวสัตว์เลี้ยง

การเลี้ยง เซาท์ แอฟริกัน มาสทิฟฟ์ (บัวโบว์) (South African Mastiffการเลี้ยง เซาท์ แอฟริกัน มาสทิฟฟ์ (บัวโบว์) (South African Mastiff

โดยใครที่ชอบหมาพันธุ์หมาแล้วต้องถูกใจเซาท์ แอฟริกัน มาสทิฟฟ์ เป็นสุนัขพันธุ์ใหญ่เช่นเดียวกับสายพันธุ์มาสทิฟฟ์อื่นๆ แข็งแรง มั่นใจในตัวเอง ศรีษะใหญ่ ผิวหนังของพวกเขาควรจะเป็นสีดำที่บริเวณใต้ท้อง ใต้ขน และหรือปาก ซึ่งจะช่วยป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์ ขนของเซาท์ แอฟริกัน มาสทิฟฟ์จะสั้น หนาแน่น มีทั้งสีน้ำตาลเหลือง สีน้ำตาล สีครีม และสีน้ำตาลแดง ส่วนที่มีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า “Boerboel” นั้น มีความหมายว่า สุนัขฟาร์ม พวกเขาถูกเลี้ยงไว้เพื่อใช้ในการทำงานในฟาร์มตามชนบทของแอฟริกาใต้ และเป็นเพื่อนที่ดีกับคน เซาท์ แอฟริกัน มาสทิฟฟ์ เป็นสุนัขที่เอาไว้เฝ้าบ้า

การดูแล กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยน

การดูแล กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนการดูแล กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยน

 กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนในธรรมชาติที่เป็นที่รู้จักของผู้เลี้ยงในปัจจุบันมีมากกว่า 150 ชนิด และมากกว่าครึ่งมาจากเกาะมาดากัสการ์ และที่เหลือพบในยุโรปตอนใต้ เอเชียและฮาวาย โดยแหล่งทีอยู่อาศัยของมันในธรรมชาติพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างสุดขั้ว มีทั้งทะเลทรายซาฮาร่าจนถึงทุ่งหญ้าบนภูเขา หรือในป่าดงดิบก็ยังมีเลยครับ ซึ่งพบที่ทางตะวันออกของเกาะมาดากัสการ์ ทำให้คาร์เมเลี่ยนแต่ละชนิดมีความต้องการพื้นฐานแตกต่างกัน ทางที่ดีก่อนที่เราจะนำมาเลี้ยงควรทำการศึกษาให้ดีเสียก่อนนะครับ คาร์เมเลี่ยนมีขนาดตั้งแต่ 2 นิ้ว ไปจนถึง 2 ฟุตครึ่ง โดยปกติตัวผู้จะมีสีสันสดใสกว่าตัวเมียและบางชนิดอาจมีโหนกและเขายื่นออกมา ในขณะที่ตัวเมียไม่มี โดยทั่วไปมีอายุเฉลี่ย 1-2 ปี โดยตัวผู้มีอายุยืนยาวกว่า ซึ่งตัวผู้ที่ได้จากการเพาะพันธุ์จะมีอายุถึง 4-5 ปี ส่วนตัวเมียอายุสั้นกว่าเพียง 2-3 ปี

13 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเจ้าตูบ13 ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเจ้าตูบ

สุนัขเป็นสัตว์ที่มีความใกล้ชิดกับมนุษย์มาก อาจบอกได้ว่าจะมากที่สุดในบรรดาสัตว์เลี้ยงทั้งหมดก็ว่าได้ แถมคนทั่วโลกยังนิยมเลี้ยงสุนัขกันมากมาย จนทำให้คนที่ไม่ได้เลี้ยงสุนัขเองก็พลอยมีความรู้เรื่องสุนัขจากคนใกล้ตัวด้วย ทว่าแม้แต่คนที่เลี้ยงสุนัขมายาวนานเองก็ยังไม่รู้ทุกอย่างเกี่ยวกับสุนัข ยังมีความจริงหลายอย่างเกี่ยวกับเจ้าตูบที่เราอาจจะไม่รู้เลยถ้าไม่เคยค้นหาข้อมูลก็ได้ วันนี้เราก็เลยนำข้อมูลบางส่วนมาบอกเพื่อนๆ จะได้รู้จักและเข้าใจเจ้าตูบกันมากยิ่งขึ้น 1. สุนัขไม่มีความรู้สึกผิด แม้ว่าสุนัขจะสามารถรู้สึกถึงอารมณ์อิจฉาได้ เมื่อเจ้าของให้ความสนใจกับสัตว์ตัวอื่นมากกว่า แต่สุนัขไม่สามารถรู้สึกสำนึกผิดได้ นักวิจัยบอกว่าที่เราเห็นว่ามันทำท่าทางรู้สึกผิดนั้น จริงๆ แล้วเป็นการตีความของเราเอง… 2. ฉี่สุนัขกัดกร่อนเหล็กได้ ฉี่ของน้องหมาอันตรายมากกว่าที่คุณคิด การที่มันฉี่ใส่เสาไฟเป็นประจำ นานๆ เข้าฉี่ของมันก็จะกัดกร่อนเหล็กจนเสาไฟล้มลงมาได้เลย ดังนั้นให้มันฉี่เป็นที่เป็นทางดีๆ ล่ะ 3. สุนัขมองเห็นสีต่างๆ ได้ คุณอาจจะเคยได้ยินมาก่อนหน้านี้ว่าสุนัขมองเห็นเป็นสีขาวดำเท่านั้น แต่นั่นเป็นเพียงแค่ความเชื่อ ความจริงแล้วพวกมันสามารถเห็นสีต่างๆ