Bishopbark การดูแลสุนัข,เรื่องน่ารู้ การเลี้ยง เซาท์ แอฟริกัน มาสทิฟฟ์ (บัวโบว์) (South African Mastiff

การเลี้ยง เซาท์ แอฟริกัน มาสทิฟฟ์ (บัวโบว์) (South African Mastiff

การเลี้ยง เซาท์ แอฟริกัน มาสทิฟฟ์ (บัวโบว์) (South African Mastiff post thumbnail image

โดยใครที่ชอบหมาพันธุ์หมาแล้วต้องถูกใจเซาท์ แอฟริกัน มาสทิฟฟ์ เป็นสุนัขพันธุ์ใหญ่เช่นเดียวกับสายพันธุ์มาสทิฟฟ์อื่นๆ แข็งแรง มั่นใจในตัวเอง ศรีษะใหญ่ ผิวหนังของพวกเขาควรจะเป็นสีดำที่บริเวณใต้ท้อง ใต้ขน และหรือปาก ซึ่งจะช่วยป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์ ขนของเซาท์ แอฟริกัน มาสทิฟฟ์จะสั้น หนาแน่น มีทั้งสีน้ำตาลเหลือง สีน้ำตาล สีครีม และสีน้ำตาลแดง ส่วนที่มีชื่ออีกชื่อหนึ่งว่า “Boerboel” นั้น มีความหมายว่า สุนัขฟาร์ม พวกเขาถูกเลี้ยงไว้เพื่อใช้ในการทำงานในฟาร์มตามชนบทของแอฟริกาใต้ และเป็นเพื่อนที่ดีกับคน

เซาท์ แอฟริกัน มาสทิฟฟ์ เป็นสุนัขที่เอาไว้เฝ้าบ้า เฝ้าไร่นา ดูแลปกป้องครอบครัวได้ดี พวกเขาจะเห่าคนแปลกหน้าหรือสัตว์แปลกๆที่มาบุกรุกให้ผู้เลี้ยงได้รู้ แต่ถ้าพวกเขาได้รับการแระนำให้รู้จักคนแปลกหน้า พวกเขาก็เรียนรู้ได้ดีว่านี่คือเพื่อนใหม่ หรือใครที่สามารถต้อนรับเข้ามาในบ้านได้ อย่างไรก็ตามแม้เซาท์ แอฟริกัน มาสทิฟฟ์จะดูดุดันกับคนแปลกหน้า แต่พวกเขาก็รักรักครอบครัวมาก ชอบใช้เวลาร่วมกับครอบครัว พวกเขาสามารถเข้ากันได้ดีกับเด็กๆ ได้ทุกช่วงวัยเพราะทนทานต่อสภาพการเล่นอันรุนแรงของเด็กๆ ได้ ทว่าก็ไม่ควรปล่อยให้พวกเขาอยู่กับเด็กๆเพียงลำพัง ควรอยู่ในสายตาของผู้ใหญ่ นอกจากนี้พวกเขายังเข้ากันได้ดีกับสัตว์เลี้ยงอื่นๆ อีกด้วย

เซาท์ แอฟริกัน มาสทิฟฟ์ เป็นน้องหมาขนสั้น หนา จึงทำความสะอาดง่าย ควรแปรงขนครั้ง – สองครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อผลัดขนเก่าทิ้งไป นอกจากนี้บริเวณด้านในขา ช่วงปลอกคอ และตามจุดอับต่างๆ ตามผิวหนังอาจมีเห็บกัดเกาะอยู่ ควรเชคดูเป็นประจำทุกๆ เดือน โดยแป้งกันเห็บหมัดให้เขาอย่างสม่ำเสมอ การน้ำควรอาบให้เดือนละครั้ง หากอาบมากเกินไปจะทำให้ผิวหนังแห้ง เป็นสะเก็ดได้ นอกจากนี้เซาท์ แอฟริกัน มาสทิฟฟ์มีแนวโน้มที่จะแพ้แชมพูและครีมนวด ดังนั้นควรเลือกแชมพูสำหรับผิวแพ้ง่ายให้เขาโดยเฉพาะ อีกส่วนหนึ่งที่ต้องดูแลมากเป็นพิเศษคือฟัน ควรทำความสะอาดฟันให้เขาอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการติดเชื้อในปาก ฟันร่วง และมีกลิ่นปาก

สำหรับการออกกำลังกาย แม้เซาท์ แอฟริกัน มาสทิฟฟ์เป็นสุนัขตัวใหญ่แต่พวกเขาก็ไม่ได้ต้องการการออกกำลังกายมากเป็นพิเศษ เพียงมีพื้นที่วิ่งเล่น หรือเล่นกับสุนัขตัวอื่นภายในบ้านก็เพียงพอ พวกเขาเป็ฯสุนัขที่สามารถหากิจกรรมเพื่อออกกำลังให้ตัวเองได้ อย่างไรก็ตามพวกเขาก็ชอบที่จะเดินเล่นออกกำลังกายร่วมกับเจ้าของ และสมาชิกในครอบครัว พวกเขาชอบเล่นวิ่งไล่ลูกบอลร่วมกับเด็กๆ ในครอบครัว แต่การพาเขาไปข้างนอก ผู้เลี้ยงก็ต้องมั่นใจว่าเซาท์ แอฟริกัน มาสทิฟฟ์ที่เลี้ยงไว้จะอยู่ภายใต้การควบคุมได้แน่นอน ไม่เป็นอันตรายต่อคนที่วิ่งสวนไปมา

Related Post

สุนัขบ้านมีกล้ามเนื้อพิเศษ ใช้ทำสายตาออดอ้อนให้มนุษย์เอ็นดูสุนัขบ้านมีกล้ามเนื้อพิเศษ ใช้ทำสายตาออดอ้อนให้มนุษย์เอ็นดู

การคัดเลือกพันธุกรรมสุนัขโดยมนุษย์เป็นเวลาหลายชั่วรุ่น ทำให้สุนัขบ้านมีวิวัฒนาการไปในทางที่สอดคล้องกับอุปนิสัยของคนเรา เช่นการมีกล้ามเนื้อพิเศษรอบดวงตา ช่วยให้สุนัขแสดงอารมณ์ความรู้สึกบนใบหน้าได้ชัดเจนลึกซึ้งมากขึ้น สามารถจะสื่อสารและทำสายตาเว้าวอนออดอ้อนเพื่อให้มนุษย์หลงรักได้ ดร.จูลีแอน คามินสกี ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเชิงพฤติกรรมจากมหาวิทยาลัยพอร์ตสมัธของสหราชอาณาจักร ระบุในรายงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร PNAS ว่า สุนัขบ้านได้พัฒนากล้ามเนื้อพิเศษขึ้นมาชุดหนึ่งเรียกว่า LAOM ที่บริเวณส่วนบนของดวงตาใกล้กับสันจมูก โดยไม่พบกล้ามเนื้อดังกล่าวในสุนัขป่าซึ่งเป็นบรรพบุรุษของพวกมัน ทีมวิจัยของ ดร. คามินสกี ได้ทดลองบันทึกคลิปวีดิโอระหว่างที่คนแปลกหน้าและสุนัขในศูนย์พักพิงแห่งหนึ่งกำลังทักทายและหยอกล้อกัน เพื่อดูว่าปัจจัยทางการสื่อสารเรื่องใดจะส่งผลให้สุนัขถูกรับไปเลี้ยงมากที่สุด ซึ่งผลการวิเคราะห์พบว่า การเคลื่อนไหวโหนกคิ้วของสุนัขมีอิทธิพลมาเป็นอันดับแรก ยิ่งมันขยับโหนกคิ้วมากครั้งขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสจะถูกรับไปเลี้ยงดูมากขึ้นเท่านั้น การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบนใบหน้าดังกล่าว ทำให้สุนัขบ้านสามารถยก “โหนกคิ้วด้านใน” ขึ้นได้ด้วย ซึ่งจะทำให้ดวงตาดูโตขึ้นคล้ายกับเด็กทารก ทั้งยังมีสายตาที่แลดูเศร้าสร้อยน่าสงสาร

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับสุนัขที่ผู้เลี้ยงควรอ่านเกร็ดความรู้เกี่ยวกับสุนัขที่ผู้เลี้ยงควรอ่าน

เรื่องน่ารู้ของ สุนัข สุนัข เป็นสัตว์เลี้ยงที่ใกล้ชิดกับมนุษย์มากที่สุด คุณเคยทำความรู้จักกับมันลึกซึ้งมากแค่ไหนคะ? และนี่จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ Petcitiz นำเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยมาฝากเพื่อนๆ ทุกคนค่ะ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์กับการเลี้ยงสุนัขที่น่ารักของคุณนะคะ แม้ว่า สุนัข จะเป็นสัตว์เลี้ยงที่อยู่ใกล้ตัวเรา และนิยมเลี้ยงกันมากที่สุด แต่ยังมีอีกหลายอย่างที่เราต้องเรียนรู้ชีวิตของพวกมันด้วย Petcitiz จึงได้รวบรวมเกร็ดความรู้ที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับสุนัขแสนซนมาฝากทุกคน จะมีเรื่องไหนกันบ้าง ลองอ่านบทความนี้กันดูนะคะ 1.สุนัขมาจากไหนกันนะ นักวิทยาศาสตร์เคยมีการค้นคว้าถึงต้นกำเนิดของ สุนัข นับเป็นข้อมูลที่น่าสนใจมากทีเดียว ว่า สุนัขมาจากการผสมข้ามสายพันธุ์ ระหว่างสุนัขจิ้งจอกและสุนัขป่า ทั้งสองสายพันธุ์นี้ มีความเฉลียวฉลาด ความสามารถรอบตัว รู้จักเอาตัวรอด

ทำไมสุนัขถึงสะอึก (hiccup) ?ทำไมสุนัขถึงสะอึก (hiccup) ?

 การสะอึก (hiccup) ก็เป็นอีกอาการหนึ่งที่เกิดขึ้นได้ในสุนัขเช่นเดียวกับในคน หลายคนมองว่าน่ารักดีเวลาที่สุนัขสะอึก แต่บางคนก็อาจเกิดความกังวลว่าจะเป็นอันตรายกับสุนัขหรือไม่ บทความนี้จะพาเพื่อน ๆ ไปทำความรู้จักการสะอึกในสุนัข เจาะลึกถึงสาเหตุ และวิธีการช่วยสุนัขที่สะอึกว่าต้องทำอย่างไร ถ้าพร้อมแล้วตามมาดูกันเลยครับ     สาเหตุของการสะอึกในสุนัข       กระบังลมเป็นกล้ามเนื้อที่กั้นระหว่างช่องอกกับช่องท้อง มีความเกี่ยวข้องกับเวลาที่น้องหมาหายใจ คือ เมื่อเวลาที่น้องหมาหายใจเข้า กะบังลมจะหดตัวและเคลื่อนตัวลง ทำให้ช่องอกขยายตัวมากขึ้น แต่เมื่อน้องหมาหายใจออก กะบังลมจะคลายตัวและเคลื่อนตัวขึ้นสู่ช่องอก ซึ่งการเคลื่อนตัวก็จะเป็นจังหวะเช่นนี้ไปตลอดในยามปกติ แต่เมื่อใดที่กล้ามเนื้อกะบังลมเกิดการหดตัวผิดจังหวะ (กระตุก) อย่างกระทันหัน ก็จะเกิดอาการที่เราเรียกว่า สะอึก (hiccup) นั่นเอง       โดยการหดตัวที่ผิดจังหวะนี้ส่งผลให้เกิดการหายใจเข้าอย่างรวดเร็ว เป็นจังหวะเดียวกับที่กล่องเสียงเกิดการปิดลงกระทันหัน จากการหดตัวของกล้ามเนื้อกล่องเสียง