Bishopbark ลักษณะของสุนัข โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ (Golden Retriever)

โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ (Golden Retriever)

โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ (Golden Retriever) post thumbnail image

โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ ถูกพัฒนาสายพันธุ์มาจากบ้านในเขตชนบทในแถบสก็อตแลนด์ของท่านลอร์ด ทวีดมัธ (Lord Tweedmouth) ในช่วงปี ค.ศ. 1860 เพื่อช่วยเหลือในการล่าในบริเวณพื้นที่สูง หรือเพื่อการล่านกน้ำ

อายุขัย

โกลเด้น รีทรีฟเวอร์มีอายุได้ถึง 11 ปี แต่ถ้าได้รับความรักและดูแลเป็นอย่างดีทางด้านโภชนาการอาหารที่ครบถ้วนสมบูรณ์  สุนัขพันธุ์นี้ก็สามารถมีอายุยืนได้ถึง 13 ปี 

ขนาดและน้ำหนัก

โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ เพศเมียสามารถมีน้ำหนักได้ถึง 27 กิโลกรัม และสูงถึง 51 เซนติเมตร โดยที่โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ เพศผู้สามารถมีน้ำหนักได้ถึง 40 กิโลกรัม และสูงถึง 61 เซนติเมตร

การดูแล

  • ลักษณะนิสัย

โกลเด้น รีทรีฟเวอร์เป็นสุนัขที่ฉลาด น่ารักน่าเอ็นดู และมีความกระตือรือร้นในตัวสูง การเก็บของหรือการวิ่งไปคาบสิ่งของเป็นสัญชาตญาณที่สำคัญของสุนัขพันธุ์นี้เป็นอย่างมาก โกลเด้น รีทรีฟเวอร์เป็นพันธุ์ที่ปรับตัวได้ง่าย และด้วยคุณสมบัติทางกายภาพแล้ว พันธุ์โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ เป็นสุนัขที่มีความสามารถสูงมาก พวกมันจึงถูกนำไปใช้ในหลาย ๆ กิจกรรม เช่น สุนัขที่ฝึกให้ล่าสัตว์ หรือจะสุนัขนำทางให้แก่ผู้พิการทางสายตา สุนัขบำบัด รวมถึงฝึกเพื่อการประกวด เป็นต้น

  • ความเข้ากันได้กับสัตว์อื่น ๆ

โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ เป็นสุนัขที่สามารถเข้ากับสัตว์อื่น ๆ ได้อย่างยอดเยี่ยม

  • ความต้องการการดูแล

ถึงแม้ว่าจะเป็นพันธุ์ที่มีขนยาว แต่ โกลเด้น รีทรีฟเวอร์ เป็นพันธุ์ที่ดูแลขนได้ง่าย เพียงแค่แปรงขนให้เป็นประจำเพื่อป้องกันขนพันกันและจับตัวเป็นสังกะตัง ควรเช็คเพื่อหา เห็บ หมัด หรือสิ่งแปลกปลอมที่อาจจะทำให้เกิดการระคายเคืองผิวในระหว่างแปรงขน สุนัขพันธุ์นี้เป็นสุนัขที่ชอบเข้าสังคม และต้องการความเป็นเพื่อนสูง พวกมันจึงไม่ชอบที่จะถูกปล่อยให้อยู่ตามลำพังอยู่นอกบ้านเป็นเวลานาน ๆ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดพฤติกรรมก้าวร้าวได้ การฝึกเบื้องต้นเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเจ้าของสุนัข โดย โกลเด้น

Related Post

ลักษณะและนิสัยของสุนัขพันธุ์ไทยลักษณะและนิสัยของสุนัขพันธุ์ไทย

พันธุ์หลังอาน     ลักษณะอุปนิสัยของสุนัข               นิสัยของสุนัขก็เหมือนนิสัยของคนเราคือมีนิสัยแตกต่างกันไป สุนัขร้อยตัวก็มีนิสัยแตกต่างกันไปร้อยแบบ ไม่จำเป็นว่าสุนัขพันธุ์เดียวกันจะต้องมีนิสัยเหมือนกันไปหมด ซึ่งเราก็สามารถกำหนดคุณลักษณะสำคัญในการเลี้ยงดูสุนัขว่าสุนัขตัวนั้นจะเป็นสุนัขที่เลี้ยงง่ายหรือไม่เอาไว้สามข้อหลักๆ คือลักษณะชอบถูกควบคุม,ลักษณะติดพันเจ้าของและลักษณะชอบโดดเดี่ยว           1.สุนัขที่มีลักษณะชอบการควบคุมหรือพูดง่ายๆ ก็คือสุนัขที่มีลักษณะของความเป็นผู้นำอยู่ในตัวนั่นเอง ถึงแม้ว่าจะอยู่กับคนแต่ก็ยังแสดงความสามารถออกมาได้อย่างเต็มที่มีความมั่นใจในตัวเองสูง เช่น สุนัขที่มักดึงเชือกเวลาเดินเล่นหรือสุนัขที่มาเกาะแข้งเกาะขาเจ้าของ สุนัขลักษณะนี้จำเป็นต้องเลี้ยงดูด้วยความระมัดระวังตั้งแต่ยังเล็ก เพราะหากได้รับการเลี้ยงดูที่ดีมันก็จะโตขึ้นมาเป็นสุนัขเฝ้าบ้านที่ดีได้           2.สุนัขที่มีลักษณะติดพันเจ้าของมาก สุนัขที่มีลักษณะเช่นนี้จะเป็นสุนัขที่มีความยอมรับในตัวเจ้าของและติดพันเจ้าของมาก นับว่าเป็นสุนัขที่เลี้ยงได้ง่ายแบบหนึ่งพฤติกรรมของสุนัขที่มีลักษณะเช่นนี้ได้แก่ สุนัขที่ชอบล้มตัวลงไปกลิ้งเล่นต่อหน้าเจ้าของ หากเลี้ยงไว้ในบ้าน ไม่ว่าคุณจะเดินไปมุมไหนสุนัขก็จะเดินตามคุณไปตลอดหรือสุนัขที่ปัสสาวะราดเวลาโดนดุเป็นต้น          3.สุนัขที่มีลักษณะโดดเดี่ยว สุนัขลักษณะนี้มักจะมีนิสัยไม่ชอบอยู่ร่วมกับคนมีนิสัยค่อนข้างเก็บตัวเงียบและเย็นชา ไม่ค่อยสนใจความเป็นไปใดๆ ในบ้านไม่ค่อยชอบสุงสิงหรืออยู่ใกล้ๆ

สุนัขบ้านมีกล้ามเนื้อพิเศษ ใช้ทำสายตาออดอ้อนให้มนุษย์เอ็นดูสุนัขบ้านมีกล้ามเนื้อพิเศษ ใช้ทำสายตาออดอ้อนให้มนุษย์เอ็นดู

การคัดเลือกพันธุกรรมสุนัขโดยมนุษย์เป็นเวลาหลายชั่วรุ่น ทำให้สุนัขบ้านมีวิวัฒนาการไปในทางที่สอดคล้องกับอุปนิสัยของคนเรา เช่นการมีกล้ามเนื้อพิเศษรอบดวงตา ช่วยให้สุนัขแสดงอารมณ์ความรู้สึกบนใบหน้าได้ชัดเจนลึกซึ้งมากขึ้น สามารถจะสื่อสารและทำสายตาเว้าวอนออดอ้อนเพื่อให้มนุษย์หลงรักได้ ดร.จูลีแอน คามินสกี ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเชิงพฤติกรรมจากมหาวิทยาลัยพอร์ตสมัธของสหราชอาณาจักร ระบุในรายงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร PNAS ว่า สุนัขบ้านได้พัฒนากล้ามเนื้อพิเศษขึ้นมาชุดหนึ่งเรียกว่า LAOM ที่บริเวณส่วนบนของดวงตาใกล้กับสันจมูก โดยไม่พบกล้ามเนื้อดังกล่าวในสุนัขป่าซึ่งเป็นบรรพบุรุษของพวกมัน ทีมวิจัยของ ดร. คามินสกี ได้ทดลองบันทึกคลิปวีดิโอระหว่างที่คนแปลกหน้าและสุนัขในศูนย์พักพิงแห่งหนึ่งกำลังทักทายและหยอกล้อกัน เพื่อดูว่าปัจจัยทางการสื่อสารเรื่องใดจะส่งผลให้สุนัขถูกรับไปเลี้ยงมากที่สุด ซึ่งผลการวิเคราะห์พบว่า การเคลื่อนไหวโหนกคิ้วของสุนัขมีอิทธิพลมาเป็นอันดับแรก ยิ่งมันขยับโหนกคิ้วมากครั้งขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสจะถูกรับไปเลี้ยงดูมากขึ้นเท่านั้น การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบนใบหน้าดังกล่าว ทำให้สุนัขบ้านสามารถยก “โหนกคิ้วด้านใน” ขึ้นได้ด้วย ซึ่งจะทำให้ดวงตาดูโตขึ้นคล้ายกับเด็กทารก ทั้งยังมีสายตาที่แลดูเศร้าสร้อยน่าสงสาร

“ฮีทสโตรก” โรคที่สัตว์เลี้ยงก็เป็นได้ รับมืออย่างไรหากเกิดขึ้นกับสุนัขและแมวในหน้าร้อน“ฮีทสโตรก” โรคที่สัตว์เลี้ยงก็เป็นได้ รับมืออย่างไรหากเกิดขึ้นกับสุนัขและแมวในหน้าร้อน

พอเข้าสู่ช่วงฤดูร้อน คงไม่ต้องพูดถึงสภาพอากาศว่าร้อนระอุแค่ไหน อากาศร้อนๆ แบบนี้มีหลายโรคที่ต้องระวังโดยเฉพาะ “ฮีทสโตรก” ที่ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงหรือคนก็สามารถเกิดขึ้นได้ “สพ.ญ. ปาลิดา กีร์ติบุตร” สัตวแพทย์ประจำโรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ แนะนำวิธีรับมืออาการฮีทสโตรกในน้องหมาและน้องแมวช่วงหน้าร้อน เพื่อให้เจ้าของได้หมั่นสังเกตุหากอาการดังกล่าวเกิดขึ้นกับสัตว์เลี้ยงของเรา ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกับโรคฮีทสโตรกก่อนว่าเป็นอย่างไร และมีความอันตรายกับสัตว์เลี้ยงมากน้อยเพียงใด “ฮีทสโตรก” เป็นโรคที่อันตรายมากหากเกิดขึ้นกับสัตว์เลี้ยง ซึ่งเจ้าของสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าโรคนี้เป็นโรคที่ต้องระวังในหน้าร้อนเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงฮีทสโตรกในสัตว์เลี้ยงสามารถเกิดได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกฤดูกาล เพียงแต่ช่วงหน้าร้อนจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากที่สุด เนื่องจากอุณหภูมิภายนอกร้อนระอุ การระบายความร้อนของสัตว์เลี้ยงจึงทำได้ยาก สายพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงที่สามารถเป็นฮีทสโตรกได้ง่ายคือ น้องหมาพันธุ์หน้าสั้น แต่สถิติการเกิดอาการนอกจากปัจจัยของสายพันธุ์แล้วยังขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่ทำด้วย หากเจ้าของพาน้องหมาออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง อาทิ วิ่งจนหอบเหนื่อยทำให้ระบบเผาผลาญทำงานหนัก อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น