Bishopbark การดูแลสุนัข,ลักษณะของสุนัข,เรื่องน่ารู้ “ฮีทสโตรก” โรคที่สัตว์เลี้ยงก็เป็นได้ รับมืออย่างไรหากเกิดขึ้นกับสุนัขและแมวในหน้าร้อน

“ฮีทสโตรก” โรคที่สัตว์เลี้ยงก็เป็นได้ รับมืออย่างไรหากเกิดขึ้นกับสุนัขและแมวในหน้าร้อน

“ฮีทสโตรก” โรคที่สัตว์เลี้ยงก็เป็นได้ รับมืออย่างไรหากเกิดขึ้นกับสุนัขและแมวในหน้าร้อน post thumbnail image

พอเข้าสู่ช่วงฤดูร้อน คงไม่ต้องพูดถึงสภาพอากาศว่าร้อนระอุแค่ไหน อากาศร้อนๆ แบบนี้มีหลายโรคที่ต้องระวังโดยเฉพาะ “ฮีทสโตรก” ที่ไม่ว่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงหรือคนก็สามารถเกิดขึ้นได้ “สพ.ญ. ปาลิดา กีร์ติบุตร” สัตวแพทย์ประจำโรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ แนะนำวิธีรับมืออาการฮีทสโตรกในน้องหมาและน้องแมวช่วงหน้าร้อน เพื่อให้เจ้าของได้หมั่นสังเกตุหากอาการดังกล่าวเกิดขึ้นกับสัตว์เลี้ยงของเรา

ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกับโรคฮีทสโตรกก่อนว่าเป็นอย่างไร และมีความอันตรายกับสัตว์เลี้ยงมากน้อยเพียงใด “ฮีทสโตรก” เป็นโรคที่อันตรายมากหากเกิดขึ้นกับสัตว์เลี้ยง ซึ่งเจ้าของสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่มักเข้าใจว่าโรคนี้เป็นโรคที่ต้องระวังในหน้าร้อนเท่านั้น แต่ในความเป็นจริงฮีทสโตรกในสัตว์เลี้ยงสามารถเกิดได้ทุกที่ ทุกเวลา ทุกฤดูกาล เพียงแต่ช่วงหน้าร้อนจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมากที่สุด เนื่องจากอุณหภูมิภายนอกร้อนระอุ การระบายความร้อนของสัตว์เลี้ยงจึงทำได้ยาก

สายพันธุ์ของสัตว์เลี้ยงที่สามารถเป็นฮีทสโตรกได้ง่ายคือ น้องหมาพันธุ์หน้าสั้น แต่สถิติการเกิดอาการนอกจากปัจจัยของสายพันธุ์แล้วยังขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่ทำด้วย หากเจ้าของพาน้องหมาออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง อาทิ วิ่งจนหอบเหนื่อยทำให้ระบบเผาผลาญทำงานหนัก อุณหภูมิในร่างกายสูงขึ้น ก็สามารถเกิดฮีทสโตรกได้ง่ายเช่นกัน สำหรับเจ้าของที่นำสัตว์เลี้ยงออกไปทำกิจกรรมนอกบ้าน ต้องเตรียมน้ำให้เขากินบ่อยๆ และหมั่นคอยสังเกตและดูพฤติกรรมเขาตลอดเวลา

Related Post

สุนัขอ้วน ไม่ได้เป็นแค่โรคอ้วน ?สุนัขอ้วน ไม่ได้เป็นแค่โรคอ้วน ?

ปัจจุบันสุนัขป่วยเป็นโรคอ้วนกันมากขึ้น ข้อมูลผลสำรวจของ Association for Pet Obesity Prevention (APOP) เมื่อปี ค.ศ. 2017ที่ผ่านมากพบสุนัขในสหรัฐอเมริกามากกว่า 56% มีน้ำหนักเกินมาตรฐานหรืออ้วน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า (จากปี ค.ศ.2016)ที่มีสุนัขมีน้ำหนักเกินมาตรฐานอยู่ที่ 54% ซึ่งผลกระทบที่ตามมาจากการที่สุนัขอ้วนนี้ก็มีอยู่หลายกรณี และเมื่อสุนัขอ้วนแล้วจะมีปัญหาอะไรตามมา เราไปดูกัน โรคอ้วนในสุนัข คือ ภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมันส่วนเกินมากเกินไปโดยนิยามแล้วสุนัขที่จัดว่าเป็นโรคอ้วนต้องมีน้ำหนักตัวมากกว่า 15-30 % ของน้ำหนักตัวมาตรฐานของแต่ละพันธุ์โดยสุนัขที่อ้วนจะพบว่า มีไขมันหนาสะสมอยู่ตามบริเวณแผ่นหลังและโคนหาง มองไม่เห็นเอวจับหรือคลำกระดูกซี่โครงหรือกระดูกสะโพกไม่พบ สุนัขมีนิสัยกินเก่งมา กินได้ทั้งวัน

สุนัขบ้านมีกล้ามเนื้อพิเศษ ใช้ทำสายตาออดอ้อนให้มนุษย์เอ็นดูสุนัขบ้านมีกล้ามเนื้อพิเศษ ใช้ทำสายตาออดอ้อนให้มนุษย์เอ็นดู

การคัดเลือกพันธุกรรมสุนัขโดยมนุษย์เป็นเวลาหลายชั่วรุ่น ทำให้สุนัขบ้านมีวิวัฒนาการไปในทางที่สอดคล้องกับอุปนิสัยของคนเรา เช่นการมีกล้ามเนื้อพิเศษรอบดวงตา ช่วยให้สุนัขแสดงอารมณ์ความรู้สึกบนใบหน้าได้ชัดเจนลึกซึ้งมากขึ้น สามารถจะสื่อสารและทำสายตาเว้าวอนออดอ้อนเพื่อให้มนุษย์หลงรักได้ ดร.จูลีแอน คามินสกี ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาเชิงพฤติกรรมจากมหาวิทยาลัยพอร์ตสมัธของสหราชอาณาจักร ระบุในรายงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร PNAS ว่า สุนัขบ้านได้พัฒนากล้ามเนื้อพิเศษขึ้นมาชุดหนึ่งเรียกว่า LAOM ที่บริเวณส่วนบนของดวงตาใกล้กับสันจมูก โดยไม่พบกล้ามเนื้อดังกล่าวในสุนัขป่าซึ่งเป็นบรรพบุรุษของพวกมัน ทีมวิจัยของ ดร. คามินสกี ได้ทดลองบันทึกคลิปวีดิโอระหว่างที่คนแปลกหน้าและสุนัขในศูนย์พักพิงแห่งหนึ่งกำลังทักทายและหยอกล้อกัน เพื่อดูว่าปัจจัยทางการสื่อสารเรื่องใดจะส่งผลให้สุนัขถูกรับไปเลี้ยงมากที่สุด ซึ่งผลการวิเคราะห์พบว่า การเคลื่อนไหวโหนกคิ้วของสุนัขมีอิทธิพลมาเป็นอันดับแรก ยิ่งมันขยับโหนกคิ้วมากครั้งขึ้นเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสจะถูกรับไปเลี้ยงดูมากขึ้นเท่านั้น การเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อบนใบหน้าดังกล่าว ทำให้สุนัขบ้านสามารถยก “โหนกคิ้วด้านใน” ขึ้นได้ด้วย ซึ่งจะทำให้ดวงตาดูโตขึ้นคล้ายกับเด็กทารก ทั้งยังมีสายตาที่แลดูเศร้าสร้อยน่าสงสาร

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชนบทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน

ในแง่ของการผลิตและการขอขึ้นทะเบียนนั้นเป็นเช่นเดียวกับยาที่ใช้ในคนและมีมาตรฐานการผลิตที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน แต่ความแตกต่างที่สำคัญ คือ จำนวนตัวอย่างที่ใช้ศึกษาผลทางคลินิคนั้นมีจำนวนตัวอย่างน้อยกว่ายาที่ใช้ในคน การศึกษาผลของยาและพิษวิทยาของยาที่ใช้ในคนนั้น แม้ว่ายาจะได้มีการทดลองในห้องทดลองโดยใช้สัตว์ทดลองมาก่อนก่อนที่จะนำมาทดลองทางคลินิกกับคนไข้เพื่อประกอบการขอขึ้นทะเบียนยา แต่บริษัทผู้ผลิตยาไม่มีสิทธิที่จะโฆษณาหรือประกาศว่า ยาชนิดนั้นใช้ในสัตว์ได้ จนกว่าจะมีการขอขึ้นทะเบียนเพื่อใช้เฉพาะในสัตว์ โดยต้องระบุชนิดของสัตว์ รวมทั้งขนาด และสรรพคุณอื่นๆ อย่างไรก็ตามสัตวแพทย์อาจสั่งใช้ยาของคนเพื่อมารักษาสัตว์ที่ตนดูแลได้ตามความจำเป็นและเห็นสมควร โดยทั่วไปสัตวแพทย์จะเลือกใช้ยาที่ขึ้นทะเบียนยาสัตว์ก่อน หากไม่ได้ผลหรือไม่อาจหายาสัตว์รักษาได้จึงจะคิดถึงการนำยาที่ใช้ในคนมาใช้ทดแทน ขนาดของยาที่จะนำมาใช้ทดแทนนั้นต้องเป็นไปตามที่นักวิจัยทางสัตวศาสตร์ได้ทดลองและตีพิมพ์ผลการศึกษานั้นในวารสารวิชาการทางสัตวศาสตร์ที่สามารถอ้างอิงได้ โดยจะมีการรวบรวมขนาดยาและสรรพคุณของยาสัตว์และยาคนที่ใช้ในสัตว์ไว้ในหนังสือคู่มือยาสัตว์เพื่อเป็นแนวทางสำหรับผู้ประกอบการบำบัดโรคสัตว์ใช้ในทางคลินิกต่อไป จำนวนชนิดของยาที่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนเพื่อใช้ในสัตว์นั้นมีจำนวนน้อยกว่ายาที่ใช้ในคน เนื่องจากตลาดเล็กกว่ามาก ดังนั้นจำนวนการผลิตจึงน้อยทำให้ต้นทุนมีราคาแพงกว่ายาที่ใช้ในคน การนำยาคนมาใช้ในสัตว์จึงเป็นการแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายของเจ้าของสัตว์เลี้ยงได้ในระดับหนึ่ง แต่อย่างไรก็ตาม เราก็ไม่สามารถที่จะนำยาคนทุกตัวมาใช้กับสัตว์ได้ เพราะถึงแม้ว่ายาทุกตัวจะมีฤทธิ์ต่อคนและสัตว์คล้ายกัน แต่การตอบสนองของร่างกายคนและสัตว์อาจแตกต่างกัน ยาบางชนิดมีพิษต่อคนต่ำแต่มีพิษต่อสัตว์สูง เจ้าของจึงไม่ควรนำยาคนมาใช้ในสัตว์ โดยไม่ได้รับความเห็นจากสัตวแพทย์ก่อน