Bishopbark Article บูลเทอเรีย (Bull Terrier)

บูลเทอเรีย (Bull Terrier)

บูลเทอเรีย (Bull Terrier) post thumbnail image

เจ้าหมาที่ใครเห็นแล้วเป็นต้องสะดุดตากับใบหน้าที่ดูเรียวกลมแปลกตา น่ารักน่าเอ็นดู เจ้าบูลเทอเรียในสมัยก่อนถูกใช้เป็นสุนัขในสนามต่อสู้ แต่ปัจจุบันน้องกลายมาเป็นสุนัขโชว์และหนึ่งในสมาชิกที่แสนน่ารักในครอบครัว วันนี้จะพามาทำความรู้จักกับบูลเทอเรีย เราจะพามาทำความรู้จักกับเจ้าบูลเทอเรีย รู้จักว่าต้นกำเนิดของน้องมาจากไหน นิสัยใจคอเป็นอย่างไร และการเลี้ยงดูน้องอย่างไรให้ถูกวิธี มาดูกัน!

ประวัติความเป็นมาของบูลเทอเรีย

บูลเทอเรียถูกพัฒนาสายพันธุ์ในช่วงปี ค.ศ.1835 เกิดขึ้นจากการผสมข้ามสายพันธุ์ของสุนัขพันธุ์บูลด็อกกับสุนัขพันธุ์ไวท์ อิงลิช เทอเรีย (ปัจจุบันสูญพันธุ์ไปแล้ว) หลังจากนั้น สายพันธุ์ที่เกิดจาก “บูล และ เทอเรีย” ได้ ถูกผสมข้ามสายพันธุ์กับสุนัขสายพันธุ์ “สเปนิช พอยเตอร์” เพื่อให้ได้ขนาดตัวที่ใหญ่ขึ้น น้องเป็นที่รู้จักว่าเป็นนักสู้สุดกล้าหาญ จากการแสดงความสามารถอันยอดเยี่ยมในสนามต่อสู้สุนัข 

ในปี 1860 นาย เจมส์ ฮิงค์ ผู้ที่ผสมสุนัขพันธุ์ “บูล และ เทอเรีย” เริ่มผสมให้สุนัขมีสีขาวล้วนทั้งตัว ความโดดเด่นสะดุดตานี้ทำให้กลายเป็นที่นิยมเลี้ยงในหมู่ผู้ชายในยุคนั้น และถูกตั้งฉายาว่า “ไวท์ คาวาเลียร์” ซึ่งมีที่มาจากความกล้าหาญในสนามต่อสู้สุนัขและมีความสง่างาม สุภาพเรียบร้อยต่อผู้คน ถึงแม้เจ้าสุนัขไม่ได้ถูกใช้ในการต่อสู้อีกต่อไปแล้ว แต่ผู้คนก็ยังคงรู้จักฉายานี้มาจนปัจจุบัน 

บูลเทอเรียได้รับการจดทะเบียนสายพันธุ์โดย American Kennel Club (AKC) ในปี 1885 อีก 12 ปีต่อมา ในปี 1897 สมาคมบูลเทอเรียแห่งสหรับอเมริกาก็ได้ถูกตั้งขึ้น เริ่มมีบูลเทอเรียที่มีสีหลากหลายมากขึ้นในปี 1936 และในปี 1992 ได้เกิดสายพันธุ์ “มิเนียเจอร์ บูลเทอเรีย (Miniature Bull Terrier )” ที่มีขนาดตัวเล็กกว่า แยกออกมา

ในปัจจุบันเจ้าบูลเทอเรียมีความนิยมอยู่ในอันดับที่ 61 จากสุนัขสายพันธุ์ต่างๆที่จดทะเบียนกับ AKC เลื่อนขึ้นมาจากอันดับที่ 85 ตอนปี 1996 และเจ้ามิเนียเจอร์ บูลเทอเรีย อยู่ในอันดับที่ 129

ลักษณะของบูลเทอเรีย

ลักษณะทางกายภาพ

  • ความสูง : 53 – 56 เซนติเมตร
  • น้ำหนัก : 23 – 31 กิโลกรัม
  • สายพันธุ์ : เทอเรีย
  • ขน :  ขนแข็ง สั้น เรียบ  
  • สีขน : มีหลายสี เช่น สีขาวล้วน, สีขาวกับสีน้ำตาล, สีน้ำตาลแกมเหลืองอ่อน, สีดำและสีแทน, สีแดง เป็นต้น
  • ลักษณะเด่น: ใบหน้าคล้ายรูปทรงไข่, ใบหูบางและตั้ง
  • ช่วงชีวิต: 12 -13 ปี

นิสัยและพฤติกรรมทั่วไป

เจ้าบูลเทอเรียมีนิสัยเป็นมิตร สนใจสิ่งรอบข้าง ชอบเข้าหาผู้คน ขี้เล่นและซุกซน ถ้าเห็นเจ้าบูลเทอเรียตัวไหนที่ขี้อายและหลบหลีกจากผู้คนเรียกได้ว่าไม่ค่อยเป็นลักษณะที่ปกตินัก

ทั้งเจ้าบูลเทอเรียและมินิบูลเทอเรียมีนิสัยที่กล้าหาญและเต็มไปด้วยความกระตือรือร้น ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ดี แต่บางครั้งน้องอาจมีนิสัยก้าวร้าวได้ น้องจะกลายเป็นหมาขี้หวงหรือขี้อิจฉา ถ้าไม่ได้รับการฝึกและการเข้าสังคมตั้งแต่ยังเป็นลูกสุนัข 

ถึงแม้จะอยู่กับผู้คน น้องบูลเทอเรียจะมีนิสัยที่น่ารัก แต่อีกด้านหนึ่งน้องจะเป็นจอมกัดแทะ, เห่าเสียงดัง และไล่กัดหางตัวเอง

วิธีการเลี้ยงและดูแลบูลเทอเรีย

  • น้องบูลเทอเรียมีขนที่สั้น, เรียบ, ค่อนข้างแข็ง และมันเงา น้องจึงต้องการการดูแลเพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยการแปรงขนให้น้องอาทิตย์ละครั้งด้วยแปรง หรือจะใช้ถุงมือแปรงขนสุนัขก็ได้ การแปรงขนจะช่วยกำจัดสิ่งสกปรกและเส้นขนที่หลุดร่วง นอกจากนี้น้องมีขนร่วงค่อนข้างน้อยจึงทำให้ดูแลทำความสะอาดง่าย
  • ถ้าหากไม่ได้ไปกลิ้งเกือกจนสกปรกจริงๆ  น้องบูลเทอเรียไม่ต้องการการอาบน้ำบ่อยๆ และเราสามารถใช้แชมพูแบบแห้งหรือใช้ผ้าเปียกหมาดเช็ดฝุ่นออกจากตัวได้
  • อย่าทิ้งน้องไว้ที่บ้านเพียงลำพัง ต้องมีคนอยู่กับน้องด้วย น้องเป็นสุนัขช่างสงสัย ชอบทำการสำรวจ น้องจะชอบหาของกินภายในบ้าน เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ต้องระวัง เพราะ น้องไปกินอาหารของคนที่ไม่เหมาะสำหรับน้อง น้องอาจเสียชีวิตได้จากการมีสิ่งอุดตันลำไส้ 
  • บูลเทอเรียในวัยลูกสุนัขมักจะร่าเริงสดใสและชอบทำกิจกรรมทุกอย่าง แต่ต้องระวัง การเล่นหรือออกกำลังกายที่มีแรงกระแทกมากๆ เพราะสามารถทำลายกระดูกที่กำลังพัฒนาได้ ดังนั้นจนกว่าน้องจะโตเต็มที่ ซึ่งก็คือในช่วง 12 – 18 เดือน เราจะต้องระมัดระวังกิจกรรมที่มีผลกระทบต่อกระดูกน้อง เช่น การกระโดดขึ้นลงบนเฟอร์นิเจอร์, การเล่นจานร่อน, หรือการวิ่งบนพื้นลื่นๆ หรือพื้นกระเบื้อง สิ่งเหล่านี้จะทำร้ายข้อต่อที่กำลังพัฒนาและกล้ามเนื้อเอ็นได้
  • น้องเป็นพันธุ์ที่จัดอยู่ในสายพันธุ์เทอเรีย แต่ก็มีความดื้อและกล้าหาญของสายพันธุ์บูลด็อกอยู่ในตัว นิสัยหนึ่งที่เป็นเหมือนกันคือ “ชอบเล่น” ดังนั้นในการฝึกก็ควรจะทำให้สนุกสนานเหมือนเป็นการเล่น การฝึกโดยใช้วิธีการเสริมแรงเชิงบวก เช่น อาหาร หรือ ของเล่น ก็ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี 
  • ขนที่สั้นและแข็งของน้องถือเป็นข้อดีที่เอาไว้โชว์กล้ามเนื้ออันแสนแข็งแรง แต่ลักษณะขนที่สั้นแบบนี้แทบจะทำให้น้องอบอุ่นไม่ได้เลย โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีสภาพอากาศหนาวเย็น น้องจึงสามารถอยู่อาศัยได้ดีในพื้นที่ทีมีสภาพอากาศค่อนข้างอุ่น
  • น้องบูลเทอเรียต้องการการออกกำลังกายทุกวันอย่างน้อยวันละ 30 นาที – 1 ชั่วโมง เพื่อให้ร่างกายและจิตใจแข็งแรง น้องจะชอบการเดินเล่น, เล่นลูกบอลหรือตุ๊กตา นอกจากนี้น้องยังมีพรสวรรค์ในการแข่งขันประเภทความรวดเร็วและการเชื่อฟังคำสั่ง และในการออกไปเดินเล่นทุกครั้งต้องใส่สายจูงเพื่อน้องจะได้ไม่วิ่งไล่สัตว์อื่นหรือวิ่งออกไปสำรวจรอบบริเวณ

อาหารของบูลเทอเรีย

ช่วงอายุ 4 – 6 สัปดาห์ : ในช่วงนี้น้องเริ่มหย่านมแม่ และฟันเริ่มขึ้นแล้ว เราสามารถเตรียมอาหารไว้ให้น้องกินได้โดยนำอาหารเม็ดสูตรลูกสุนัขมาบดให้เป็นผงแล้วผสมกับนมสำหรับลูกสุนัขหรือน้ำเปล่าก็ได้ ในช่วง 2 – 3 วันแรกเราอาจต้องเติมนมหรือน้ำเพิ่มเพื่อให้ลูกสุนัขเรียนรู้วิธีเลียกิน อาหารบดที่แห้งเกินไปจะไม่มีน้ำมากพอให้เจ้าพวกนี้ได้ฝึกหัดเลียน้ำในถ้วยอาหาร

ปกติเจ้าพวกลูกสุนัขจะกินอาหารและดื่มน้ำจากในจานเองได้โดยที่ไม่ต้องเราไม่ต้องช่วยเหลือ หลังจากนั้นเราก็เริ่มลดปริมาณน้ำหรือนมที่ผสมในอาหารแฉะและไม่ต้องบดอาหารมากนักเพื่อให้ลูกสุนัขเรียนรู้วิธีเคี้ยว เตรียมถ้วยน้ำสะอาดแยกไว้ต่างหากอีกถ้วยหนึ่งให้น้องได้ดื่ม เมื่อน้องอายุได้ 6 สัปดาห์จะสามารถกินอาหารเม็ดแข็งๆได้โดยที่เราไม่ต้องบดหรือผสมนมแล้ว

ช่วงอายุ 8 สัปดาห์ – 14 เดือน : ในช่วงนี้น้องๆจะเติบโตอย่างรวดเร็ว จึงต้องการอาหารที่มีคุณภาพดีและมีสารอาหารที่ช่วยในการเจริญเติบโต อาหารลูกสุนัขส่วนใหญ่มีโปรตีน, วิตามินและแร่ธาตุ, และไขมันดีมากกว่าในอาหารสุนัขโตเสียอีก เพราะลูกสุนัขมีระบบย่อยอาหารที่ดีกว่าและการดูดซึมที่ยาวนานกว่าสุนัขโต ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมในอาหารลูกสุนัขจึงมีปริมาณของสารอาหารมากกว่า เพราะน้องๆต้องใช้ในการเจริญเติบโตนั่นเอง

ช่วงอายุ 14 เดือนขึ้นไป : ในช่วงวัยนี้ถือว่าน้องเป็นสุนัขโตแล้ว เป็นช่วงเวลาที่การรักษาสมดุลของน้ำหนักจะเปลี่ยนไปขึ้นอยู่กับการออกกำลังกาย, ความสูงและน้ำหนัก และอายุของสุนัขแต่ละตัว ที่เห็นได้ชัดเจนคือบูลเทอเรียบางตัวมีความแอคทีฟและเผาผลาญพลังงานได้รวดเร็วกว่าบางตัวเนื่องจากน้องได้ทำกิจกรรมต่างๆ อย่างไรก็ตามเจ้าบูลเทอเรียที่เริ่มมีอายุมากก็จะไม่ค่อยแอคทีฟแล้ว น้องอาจจะชอบนั่งเล่นอยู่บนโซฟามากกว่าไปเล่นลูกบอลในสวน

ในช่วงวัยนี้การเลี้ยงดูให้น้องมีน้ำหนักที่เหมาะสมถือเป็นความรับผิดชอบของเราที่ต้องคอยดูแลเอาใจใส่ น้องบูลเทอเรียต้องการการออกกำลังกายเยอะเพื่อสุขภาพที่แข็งแรง ถ้าเจ้าบูลเทอเรียไม่ได้ออกกำลังกายหรือเล่นบ่อยๆน้องมีโอกาสกลายเป็นน้องหมาอ้วนน้ำหนักเกินและขี้เกียจ ดังนั้นในบูลเทอเรียวัยโต อาหารและการออกกำลังกายที่เพียงพอจึงเป็นสิ่งสำคัญ 

บูลเทอเรียวัยโตน้องจะกินอาหารวันละ 2 มื้อ คือ มื้อเช้าและมื้อเย็น ถ้าเป็นอาหารเม็ด ในแต่ละมื้อจะตักให้ 2 ถ้วยตวง และเราสามารถผสม เนื้อสัตว์, ผัก, ไข่, ปลา หรือว่าอาหารสุนัขกระป๋อง ได้ด้วย

สุขภาพของบูลเทอเรีย

น้องบูลเทอเรียปกติจะมีสุขภาพที่แข็งแรงอยู่แล้ว แต่ก็เหมือนกับสุนัขสายพันธุ์อื่นๆที่สามารถเกิดปัญหาสุขภาพได้ ผู้เพาะพันธุ์ที่สามารถไว้วางใจได้จะต้องมีใบรับรองการตรวจสุขภาพของพ่อแม่สุนัขด้วย และน้องบูลเทอเรียควรจะได้รับการทดสอบทางการได้ยิน BAER ด้วย สำหรับเจ้าบูลเทอเรียสีขาวนั้น ควรตรวจโรคตรวจหัวใจและไทรอยด์จาก Orthopedic Foundation for Animals และตรวจการทำงานของไต จาก UP:UC  

โรคที่อาจเกิดได้กับสายพันธุ์นี้ คือ

  1. ไตอักเสบ :  Hereditary Nephritis 
  2. หูหนวก : Deafness 
  3. โรคหัวใจ : Heart Disease 
  4. โรคผิวหนัง :  Skin Problems
  5. อาการที่น้องหมกมุ่นอยู่กับการไล่งับหางตัวเอง : Spinning 
  6. โรคเลนส์ตาเลื่อน : Lens luxation 

บูลเทอเรียกับเด็กและสัตว์เลี้ยงอื่นๆ

เจ้าบูลเทอเรียเป็นสุนัขที่มีความแอคทีฟ ที่บางทีชอบเล่นแรงๆ ดังนั้นน้องจึงไม่เหมาะกับบ้านที่มีเด็กเล็ก แต่เหมาะจะเป็นเพื่อนเล่นกับเด็กโตมากกว่า น้องจะมีความอดทนและใจกว้างกับเด็กที่อยู่ในครอบครัวเดียวกัน แต่กับเด็กที่น้องไม่รู้จัก น้องอาจจะแสดงความก้าวร้าวใส่ได้ โดยเฉพาะถ้ามีการตะโกนเสียงดังหรือเล่นจับทุ่มกันอยู่ เพราะน้องจะรู้สึกว่าเป็นหน้าที่ที่ต้องปกป้องเด็กจากเพื่อนๆ ดังนั้นหากมีเด็กๆมาที่บ้านผู้ปกครองต้องคอยดูแลอยู่เสมอ อย่าปล่อยให้น้องหมาอยู่กับเด็กโดยลำพัง

น้องบูลเทอเรีย โดยเฉพาะเพศผู้ที่ยังไม่ได้ทำหมัน บางทีอาจแสดงความดุร้ายกับสุนัขตัวอื่นๆโดยเฉพาะเพศเดียวกัน แต่ถ้าเป็นสุนัขเพศตรงข้ามก็สามารถเข้ากันได้ปกติ นอกเราไม่ควรไว้ใจให้จน้องบูลเทอเรียอยู่กับแมวหรือสัตว์ตัวเล็กๆ

Related Post

ปัญหาการอาเจียนในน้องแมวปัญหาการอาเจียนในน้องแมว

หากน้องแมวที่เราเลี้ยงกำลังมีปัญหามีสิ่งกีดขวางในหลอดอาหาร (เช่นก้อนขน) หรือกล้ามเนื้อบริเวณหลอดอาหารหรือกระเพาะอาหารทำงานผิดปกติ เจ้าของมักจะสังเกตเห็นว่าพวกเขามีปัญหาในการกินหรือกลืน เจ้าของจะสังเกตเห็นว่าน้องแมวดูเหมือนไม่เต็มใจที่จะกินอาหาร ซึ่งอาจหมายถึงว่าน้องแมวกำลังเจ็บปวด เมื่อพยายามกินอาหาร ทำให้การกินอาหารเป็นเรื่องยากหรือเกิดความเครียด น้องแมวอาจสำรอกอาหารได้ นี่คือจุดที่แมวจะขับอาหารออกจากร่างกาย ซึ่งอาการนี้โดยปกติใช้เวลาไม่นานหลังจากที่น้องแมวทานอาหารเข้าไป และไม่มีสัญญาณเตือนใด ๆ ซึ่งน้องแมวอาจแสดงอาการไอ ซึ่งเกิดจากอาหารที่ไม่ได้ย่อยติดที่อยู่ในหลอดอาหารได้ค่ะ ปัญหาการอาเจียนหรือคายก้อนขนน้องแมวที่เราเลี้ยงอาจอาเจียนเป็นครั้งคราวถือว่าไม่ใช่เรื่องแปลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพวกเขากินอะไรบางอย่างที่ร่างกายระบุว่าอันตราย การอาเจียนบ่อย ๆ จำนวนมากกว่าสองครั้งต่อเดือน อาจบ่งชี้ถึงปัญหาที่รุนแรงกว่านั้น เช่นการติดเชื้อ โรคหรือแผลที่ทำให้เกิดการอักเสบ อย่างไรก็ตามแมวอาจอาเจียนได้หลายสาเหตุ เมื่อแมวมีอาการอาเจียน พวกเขาจะขย้อนอาหารที่ย่อยในกระเพาะไปแล้วส่วนหนึ่งหรือน้ำดี ซึ่งโดยส่วนมากอาการเหล่านี้มักเกิดหลังจากทานอาหารมาระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งอาการนี้แตกต่างจากการสำรอก ซึ่งเป็นปฏิกิริยาโต้ตอบเชิงป้องกันและเกิดขึ้นทันที และหากน้องแมว

แนะดูแลสัตว์เลี้ยงให้ถูกสุขลักษณะแนะดูแลสัตว์เลี้ยงให้ถูกสุขลักษณะ

การมีสัตว์เลี้ยงในบ้าน เช่น สุนัขและแมว ผู้เลี้ยงจะต้องรักษาสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดอยู่เสมอ คอยจัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะอยู่เสมอ เพื่อไม่รบกวนผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง นายวรเศรษฐ์ วิศาลศักดิ์ ผู้อำนวยการเขตประเวศ กล่าวว่า เขตได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนเป็นจำนวนมาก จากเหตุเดือดร้อนรำคาญจากการเลี้ยงสุนัข และสัตว์เลี้ยงอื่นๆ โดยเจ้าของปล่อยให้สัตว์เห่า หอน เสียงดัง หรือถ่ายมูลเรี่ยราด ส่งกลิ่นเหม็นรบกวนผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง หรือทำร้ายประชาชนที่สัญจรไปมา ดังนั้น เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนในพื้นที่ จึงขอความร่วมมือเจ้าของสัตว์เลี้ยงปฏิบัติ ดังนี้ 1. ต้องเลี้ยงสัตว์ภายในบริเวณบ้าน โดยจัดสถานที่เลี้ยงสัตว์ตามความเหมาะสมตามจำนวนสัตว์เลี้ยง 2. รักษาสถานที่เลี้ยงสัตว์ให้สะอาดอยู่เสมอจัดเก็บสิ่งปฏิกูลให้ถูกสุขลักษณะ ไม่ปล่อยให้เกิดการสะสมจนเกิดกลิ่นเหม็น รบกวนผู้ที่อาศัยใกล้เคียง 3. ต้องระมัดระวังและรับผิดชอบมลภาวะเสียง

ภาพเศร้าเช้าวันพุธภาพเศร้าเช้าวันพุธ

“ภาพเศร้าเช้าวันพุธ” พบภาพเศร้าเช้านี้กลางถนน ขณะผู้คนและรถรารีบเร่ง ร่างไร้วิญญาณแมวน้อยดูวังเวง กรรแสงเพลงโศกสลดรันทดใจ รถราแล่นผ่านไปไม่แยแส เจ้าหมาแก่ตัวหนึ่งน่าสงสัย ดูท่าทางมันจะวิ่งฝ่าเข้าไป เพื่อได้ใกล้ร่างแมวน้อยตัวนั้น แต่ถนนแน่นหนาเกินฝ่าข้าม เจ้าหมาแก่พยายามไม่นึกหวั่น รับรู้ถึงความรู้สึกผูกพัน ช่วงเวลาสั้นสั้นเช้าวันพุธ ภาพที่พบต….