Bishopbark เรื่องน่ารู้ พอยเตอร์ (Pointer) น้องหมาพลังเยอะ

พอยเตอร์ (Pointer) น้องหมาพลังเยอะ

พอยเตอร์ (Pointer) น้องหมาพลังเยอะ post thumbnail image

น้องหมาพันธุ์ “พอยเตอร์” ถูกพัฒนาเมื่อหลายร้อยปีมาแล้วเพื่อใช้ในการชี้เหยื่อ อย่างเช่น นก และกระต่าย น้องเป็นสุนัขที่เลี้ยงไว้ในทุ่งหญ้าเพื่อใช้งานและเป็นสมาชิกในครอบครัว นอกจากนี้ยังโดดเด่นในสนามแสดงสุนัขอีกด้วย ด้วยรูปร่างที่ดูสง่า มีความปราดเปรียวว่องไว ซื่อสัตย์ เชื่อฟัง มีพลังงานล้นเหลือ รักสนุก เหมาะกับครอบครัวที่ชอบออกไปทำกิจกรรมต่างๆ  ใครที่อยากจะรู้จักน้องให้มากขึ้นก็ตามมาได้เลย 

ประวัติความเป็นมาของพอยเตอร์

ต้นกำเนิดที่แท้จริงของน้องยังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แม้จะมีบันทึกเกี่ยวกับสุนัขพันธุ์นี้ในช่วงปี 1650 หลักฐานอย่างหนึ่งที่ยืนยันได้ว่าน้องพอยเตอร์ถูกพัฒนาสายพันธุ์ในช่วงศตวรรษที่ 16 และ 17 คือสุนัขสายพันธุ์ชี้เหยื่อ (pointing dog) อย่างเช่นในโปรตุเกสและสเปนิชพอยเตอร์ที่ถูกนำไปจากแผ่นดินใหญ่สู่ประเทศอังกฤษ ถึงแม้รายละเอียดความเป็นมาที่ถูกต้องของน้องจะยังเป็นปริศนา แต่ก็เป็นที่เชื่อกันโดยทั่วไปว่ามีสุนัข 4 สายพันธุ์ที่เกี่ยวข้องกับน้องพอยเตอร์ ได้แก่ สายพันธุ์เกรย์ฮาวด์, ฟ็อกซ์ฮาวด์, บูลเทอร์เรีย และ บลัดฮาวด์

น้องพอยเตอร์ถูกนำไปที่อเมริกาครั้งแรกช่วงปลายปี 1800 ในตอนนั้นมีสุนัขล่าเหยื่ออย่าง “อิงลิช เซตเทอร์” (English Setter) อยู่แล้วและสุนัขชี้เหยื่อไม่ได้รับอนุญาตให้ลงสนามเป็นคู่กับเซตเทอร์ ต่อมาในปี 1910 น้องพอยเตอร์ได้ถูกพัฒนาไปถึงจุด มุ่งไปที่ เหนือกว่าเซตเทอร์  ปัจจุบันนี้พอยเตอร์เป็นสมาชิกของสุนัขกลุ่มกีฬาของ AKC ถึงแม้น้องจะถูกเรียกบ่อยๆว่าอิงลิช พอยเตอร์ แต่ชื่อย่างเป็นทางการคือ พอยเตอร์  

AKC ได้ขึ้นทะเบียนสายพันธุ์พอยเตอร์ในปี 1879 และสมาคมสุนัขพอยเตอร์ในอเมริกาาถูกตั้งขึ้นในปี 1938. ปัจจุบันนี้น้องเป็นสุนัขที่มีรูปร่างหน้าตาดีแต่พบได้น้อย น้องอยู่ในอันดับที่ 103 ของสุนัขที่ถูกขึ้นทะเบียนโดย American Kennel Club

ลักษณะของยอร์คเชียร์พอยเตอร์

ลักษณะทางกายภาพ

  • ความสูง : เพศผู้ 63  – 71 เซนติเมตร เพศเมีย 58 – 66 เซนติเมตร
  • น้ำหนัก : เพศผู้ 25 – 34  กิโลกรัม เพศเมีย 20 – 30 กิโลกรัม
  • สายพันธุ์ : สุนัขกีฬา
  • ขน :  ขนสั้น นุ่ม มันเงา
  • สีขน :  มีสีเดียวตลอดทั้งตัว เช่น สีลิเวอร์ (สีน้ำตาลเข้ม), สีดำ, สีส้ม หรือสีเลมอน โดยมีหรือไม่มีสีขาวผสมก็ได้ หรือมีลายแต้มสีดำ 
  • ลักษณะเด่น: ใบหูพับลงตามธรรมชาติ
  • ช่วงชีวิต: 12 -17 ปี

นิสัยและพฤติกรรมทั่วไป

น้องพอยเตอร์เป็นสุนัขขี้อ้อน ชอบอยู่กับเจ้าของและซื่อสัตย์ต่อเจ้าของเป็นอย่างมาก น้องเป็นมิตร เปิดรับผู้คนใหม่ๆ ฉลาดและไม่ดุร้ายซึ่งเหมาะมากในการเลี้ยงกับครอบครัวที่มีเด็กหรือสัตว์เลี้ยงอื่นๆ

น้องมีจิตวิญญาณในการแข่งขันและมีความเป็นตัวของตัวเอง แต่ก็ขี้เล่นและซุกซน น้องสามารถเป็นสุนัขเฝ้าบ้านที่ยอดเยี่ยมได้ เพราะมีสัญชาตญาณในการปกป้องสิ่งของและจะเห่าเตือนเมื่อเห็นอะไรที่ผิดปกติ และถึงแม้น้องจะเฟรนด์ลี่แค่ไหนแต่เราก็ควรให้น้องได้ฝึกเข้าสังคมตั้งแต่ยังเด็กเพื่อให้เกิดความคุ้นเคยกับผู้คนและสภาพแวดล้อมต่างๆรอบตัว เพื่อไม่ให้น้องกลายเป็นสุนัขที่ตื่นกลัวและขี้ตกใจ

วิธีการเลี้ยงและดูแลพอยเตอร์

  • แปรงขนให้น้องอาทิตย์ละ 1 ครั้ง ด้วยที่แปรงขนแบบถุงมือ โดยแปรงให้ทั่วตลอดทั้งตัว จะทำให้ขนสุขภาพดี น้องผลัดขนน้อยมาก และการแปรงขนเป็นประจำจะช่วยลดจำนวนขนที่หลุดร่วงไปติดตามเสื้อผ้าและเฟอร์นิเจอร์ต่างๆภายในบ้านของเราได้ 
  • การแปรงขนเป็นประจำและการใช้ผ้าเปียกเช็ดขนเป็นครั้งคราวจะช่วยให้น้องพอยเตอร์ตัวสะอาด แต่น้องควรได้รับการอาบน้ำ 3 – 4 ครั้งต่อปี ใช้แชมพูสำหรับสุนัขเพื่อไม่ให้ขนและผิวหนังแห้ง และต้องล้างออกให้เกลี้ยงทุกครั้งเพื่อป้องกันอาการคันจากแชมพูที่ตกค้างอยู่
  • น้องชอบทำกิจกรรมนอกบ้านและชอบอยู่กับเจ้าของ แต่ไม่ควรเลี้ยงน้องไว้นอกบ้าน น้องชอบอยู่กับครอบครัวที่มีกิจกรรมอยู่เสมอ เช่น เดินเล่น, ตั้งแคมป์ หรือกิจกรรมนอกบ้านอื่นๆ นอกจากนี้น้องยังต้องการสนามหญ้าที่ใหญ่พอให้น้องได้วิ่งเล่น เมื่อน้องได้รับการออกกำลังกายและการฝึกที่เพียงพอ น้องจะเงียบและสุภาพ
  • น้องเป็นสุนัขที่มีพลังงานเหลือเฟือ จึงต้องการออกกำลังกายทุกวันและ ด้วยบรรพบุรุษเป็นสายพันธุ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อล่าสัตว์และต้องทำงานทั้งวัน แม้จะกลายมาเป็นสัตว์เลี้ยงแต่ความต้องการออกกำลังกายเพื่อใช้พลังงานของน้องยังเหมือนเดิม พาน้องไปออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที การเดินเล่นอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ ควรให้น้องได้วิ่ง, สอนน้องให้วิ่งข้างๆตอนเราปั่นจักรยาน, เล่นจานร่อนกับน้องในสนามหญ้า, ให้น้องวิ่งไปคาบบอล หรือ กีฬาอื่นๆของสุนัข  
  • น้องสามารถกลายเป็น “จอมทำลายล้าง” เมื่อน้องเบื่อหรือออกกำลังกายไม่เพียงพอ โดยเฉพาะเมื่อน้องยังเป็นลูกสุนัข น้องจะมีพฤติกรรมกัด, ขุด และอีกหลายพฤติกรรมในด้านลบที่นำไปสู่ค่าใช้จ่ายในการซ่อมแซมและปรับปรุงนิสัยของน้อง
  • น้องพอยเตอร์ในวัยลูกสุนัขนั้นกำลังเจริญเติบโต และไม่ต้องการการออกกำลังกายเยอะๆเหมือนกับพอยเตอร์วัยโต ปล่อยให้น้องได้เล่นและนอนพักผ่อนตามตารางชีวิตของน้องเอง และไม่ควรให้น้องกระโดดจนกว่าน้องจะเจริญเติบโตเต็มที่เมื่ออายุประมาณ 18 เดือน การวิ่งและกระโดดบนพื้นแข็งๆในตอนที่น้องยังอายุน้อยจะทำให้เกิดปัญหาที่ข้อต่อและเกิดปัญหาเกี่ยวกับกระดูกได้
  • น้องไม่เหมาะกับการเลี้ยงในอพาร์ทเมนต์หรือบ้านที่มีพื้นที่จำกัด น้องเหมาะกับบ้านที่มีพื้นที่สนามหญ้าใหญ่ๆล้อมรอบด้วยรั้ว เพื่อให้น้องได้วิ่งเล่นและใช้พลังงานของตัวเอง
  • รั้วเป็นสิ่งจำเป็นมากๆ  น้องเป็นสุนัขที่ตามกลิ่นและจะวิ่งเป็นระยะทางไกล น้องไม่รู้จักรถและไม่รู้ทางกลับบ้านด้วยหลังจากที่วิ่งออกไปไกลแล้ว บางตัวมีคนพบและนำมาส่งที่ศูนย์ช่วยเหลือแต่บางตัวก็หายไปเลย ดังนั้นควรมีรั้วที่มิดชิดแข็งแรง

อาหารของพอยเตอร์

น้องควรได้รับอาหารที่มีคุณภาพดี ไม่ว่าจะเป็นอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารที่เราทำเองภายใต้คำแนะนำของสัตวแพทย์ อาหารที่ให้คววรมีความเหมาะสมกับช่วงวัย, กิจกรรมที่ทำ, การดูดซึมของร่างกาย

น้องเป็นสุนัขที่มีพลังเยอะอยู่แล้วตามธรรมชาติ เราควรให้อาหารที่เป็นสูตรสำหรับสุนัขที่ใช้พลังงานเยอะ มีโปรตีนสูง และเป็นอาหารสำหรับสุนัขพันธุ์ใหญ่ ถ้าน้องไม่ได้ออกกำลังทุกวันควรระวังเรื่องการให้อาหารปริมาณมากเกินไป อาจจะทำให้น้องมีภาวะน้ำหนักเกินได้ปริมาณอาหารที่แนะนำคือ 2 – 3 ถ้วยต่อวัน โดยแบ่งออกเป็น 2 มื้อ

สุขภาพของพอยเตอร์

ปกติแล้วน้องยอร์คเชียร์เทอร์เรียมีสุขภาพแข็งแรง แต่ก็มีแนวโน้มจะเป็นโรคดังต่อไปนี้ 

ปัญหาสุขภาพที่มักเกิดกับพอยเตอร์ ได้แก่

  1. โรคข้อสะโพกเสื่อม : Hip Dysplasia
  2. จอประสาทตาเสื่อม : Progressive Retinal Atrophy (PRA) 
  3. โรคลมชักในสุนัข : Epilepsy
  4. โรคเกี่ยวกับกระดูก : Neurotropic Osteopathy
  5. อาการแพ้ : Allergies
  6. โรคเชอร์รี่อาย : Cherry Eye 
  7.  ภาวะหนังตาม้วนเข้าใน : Entropion 
  8.  ต้อกระจก : Cataracts
  9. โรคแคระแกร็น : Chondrodysplasia 
  10. โรคแอดดิสันในสุนัข : Addison’s Disease
  11. โรคไรขี้เรื้อนเปียก : Demodectic Mange
  12. ซีสต์ใต้ผิวหนัง : Skin cysts

พอยเตอร์ กับเด็กและสัตว์เลี้ยงอื่นๆ

น้องสามารถเข้ากับเด็กได้ โดยเฉพาะเด็กที่เลี้ยงมาด้วยกัน แต่ผู้ปกครองต้องคอยดูแลไม่ให้เด็กอยู่กับสุนัขตามลำพัง และสอนให้เด็กเล่นกับสุนัขอย่างอ่อนโยน น้องสามารถเข้ากับสัตว์เลี้ยงตัวอื่นๆได้ดีเช่นกัน ยิ่งถ้าเป็นสัตว์ที่เติบโตมาด้วยกัน แต่ถ้าใครเลี้ยงนกเอาไว้ เราควรใส่ใจเป็นพิเศษและควรแยกน้องออกจากกันเพื่อเป็นการปกป้องสัตว์ทั้งสอง เพราะน้องพอยเตอร์อาจจะวิ่งไล่นก และนกอาจจิกทำร้ายน้องหมาได้

Tags:

Related Post

แบนด๊อก คืออะไร ดุร้ายจริงไหม

แบนด๊อก คืออะไร ดุร้ายจริงไหมแบนด๊อก คืออะไร ดุร้ายจริงไหม

เขาคงได้เห็นข้าวกันแล้วที่มีสุนัขดุร้ายได้ทำร้ายเจ้าของจนถึงกับชีวิต และมีข้อสงสัยอยู่นั้นก็คือ สุนัข แบนด๊อก มันเป็นคำที่ไม่เคยได้ยินมาก่อน ว่ามันคืออะไรวันนี้เราจะพาท่านมาหาคำตอบในเจ้า แบนด๊อก กันว่ามันมีนิสัยที่ดุร้ายเป็นสุนัขต้องห้ามเลี้ยงและทำไมถึงยังมีสุนัขที่ดุร้ายขนาดนี้เลี้ยงอยู่ตามบ้านได้ หมาพิตบูลลูกผสมทุกตัว ไม่ว่าจะผสมกับ อิงลิช มาสตีฟ, เฟรนซ์ มาสตีฟ, บูล มาสตีฟ, โดโก้อาเจนติโน, คอร์ซ่า คานารีโอ, ร๊อตไวเลอร์ ฯลฯ โดยมีเจตนาเพื่อต้องการเพิ่ม ขนาดของร่างกาย เพิ่มแรงในการปะทะ เพื่อนำไปทำกิจกรรมบางประเภท เช่น การใช้ล่าสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ เขาเรียกว่า Bandog แต่ที่ผมทราบมา

ประวัติสุนัขทรงเลี้ยง คุณทองแดงประวัติสุนัขทรงเลี้ยง คุณทองแดง

แรกเริ่มเดิมทีคุณทองแดง เป็นลูกของแดง สุนัขจรจัดที่อาศัยอยู่ในบริเวณ ถนนพระราม 9เกิดวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2541 โดยคุณทองแดงมีพี่น้องร่วมกัน 7ตัว ชาวบ้านแถวนั้นตั้งชื่อให้ว่า คาลัว,หนุน, ละมุน,โกโร,โกโส,ทองเหลือง และ ทองแดง เมื่อครั้นพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหา��ูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินไปเปิดศูนย์การแพทย์พระราม 9 โดยมีนายแพทย์คนหนึ่งนำคุณทองแดงมาถวายทูลเกล้าฯ เมื่อทอดพระเนตรคุณทองแดงแล้ว จึงรับสั่งว่าให้เข้ามาเลี้ยงในวัง โดยมีคุณมะลิ ซึ่งเป็นสุนัขแม่ลูกอ่อนในวังช่วยเลี้ยงดูคุณทองแดง ซึ่งคุณทองแดงนั้นมีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากสุนัขธรรมดาทั่วไป โดยมีหางม้วนขดเป็นวง ปลายหางมีดอกสีขาว เท้าทั้ง 4 ข้าง

มติครม. เพิ่มกฏหมาย “หมา-แมว” ต้องขึ้นทะเบียนมติครม. เพิ่มกฏหมาย “หมา-แมว” ต้องขึ้นทะเบียน

พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรีว่า ที่ประชุมเห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ…. เนื่องจากกฎหมายเดิมในปี 2557 ยังไม่ปรากฏบทบัญญัติให้ประชาชนต้องควบคุมทะเบียนสัตว์เลี้ยง เป็นปัญหาทำให้เกิดการทอดทิ้งสัตว์ กฎหมายฉบับนี้จะเน้นการควบคุมทางทะเบียนเพิ่มความรับผิดชอบเจ้าของสัตว์เลี้ยง โดยให้ราชการส่วนท้องถิ่นออกข้อบัญญัติในการขึ้นทะเบียนสัตว์ ถ้าไม่ปฏิบัติตามให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นเปรียบเทียบปรับได้ ถือเป็นรายได้ของท้องถิ่น และถ้ามีบุคคลใดไม่ปฏิบัติตามข้อบัญญัติหรือฝ่าฝืนจะมีระวางโทษปรับไม่เกิน 2.5 หมื่นบาท การขึ้นทะเบียนใช้กับสัตว์เลี้ยงทุกประเภท แต่เน้นที่สุนัขกับแมวก่อน ถือเป็นการคุ้มครองดูแลสัตว์ให้ได้รับการดูแลอย่างดี และเจ้าของไม่ปล่อยปละให้ก่อความรำคาญกับผู้อื่น