Tag: ลูกสุนัข

ช่วงการเจริญเติบโตที่สำคัญของลูกสุนัขช่วงการเจริญเติบโตที่สำคัญของลูกสุนัข

ในช่วงสองสามปีแรก จะมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนมากเกิดขึ้นกับลูกสุนัขของคุณ การทำความเข้าใจช่วงการเจริญเติบโตที่สำคัญจะช่วยให้คุณเตรียมพร้อมและมั่นใจว่าคุณกำลังให้การเริ่มต้นที่ดีที่สุด ตลอดช่วงปีแรกของชีวิต ลูกสุนัขของคุณจะมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทั้งด้านขนาด รูปร่าง และพฤติกรรม การทำความเข้าใจช่วงการเจริญเติบโตที่สำคัญจะช่วยให้คุณทราบว่าต้องรับมือเรื่องอะไรในช่วงเวลาต่างๆ ของสองสามปีแรกและเตรียมพร้อมในแบบที่ถูกต้อง หนึ่งในสิ่งสำคัญที่ควรทราบคือความแตกต่างในช่วงสองสามปีแรกระหว่างสุนัขพันธุ์เล็กและสุนัขพันธุ์ใหญ่ การเจริญเติบโตจะเกิดขึ้นด้วยความเร็วที่ต่างกัน และมีสิ่งที่ควรระวังต่างกัน ขึ้นอยู่กับประเภทของสุนัขที่คุณเลี้ยง เพศของสุนัขและพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ ช่วง 3-4 สัปดาห์แรกเกิดของลูกสุนัขของคุณ 14 วันแรกเกิดของลูกสุนัขเป็นช่วงเวลาที่สำคัญเพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาจะเติบโตเต็มวัยด้วยสุขภาพที่ดี สิ่งสำคัญคือการดูแลลูกสุนัขอย่างระมัดระวังในช่วง 48 ชั่วโมงแรก และตรวจสอบให้แน่ใจว่าพวกเขาได้รับความอบอุ่นและโภชนาการที่พวกเขาต้องการอย่างครบถ้วน ซึ่งรวมถึงนมน้ำเหลืองที่ลูกสุนัขได้รับจากแม่สุนัข เนื่องจากน้ำนมนี้ช่วยเสริมระบบภูมิคุ้มกันของลูกสุนัข ในช่วงวันที่ 9-13 น้ำหนักของลูกสุนัขของคุณจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า ดังนั้นควรปรึกษาสัตวแพทย์หากน้ำหนักของลูกสุนัขไม่เพิ่มขึ้นตามที่ควรจะเป็น หลังจากอายุได้หนึ่งเดือน

6 ข้อควรรู้ ก่อนพาน้องหมาไปฉีดวัคซีน6 ข้อควรรู้ ก่อนพาน้องหมาไปฉีดวัคซีน

เคยสงสัยไหมว่า? ทำไมเราต้องพาสุนัขไปฉีดวัคซีน แล้วการฉีดวัคซีนสำคัญอย่างไร?“การฉีควัคซีน” คือการฉีดเชื้อโรคเข้าร่างกาย เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันโรค โดยคุณหมอจะต้องให้ วัคซีนในปริมาณ และช่วงเวลาที่เหมาะสม เรามาดู 6 ข้อควรรู้ ก่อนพาน้องหมาไปฉีดวัคซีนว่าต้องเตรียมตัว และดูแลหลังฉีดวัคซีนอย่างไร ไปดูพร้อมกันเลย 1. การฉีดวัคซีนต้องทำเป็นประจำทุกปี เจ้าของสุนัขหลายคนเชื่อว่า ถ้าลูกสุนัขได้รับวัคซีนตั้งแต่เล็กตามกำหนดที่หมอบอกภูมิคุ้มกันนี้จะอยู่ตลอดชีวิต แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่อย่างนั้น เจ้าของต้องพาน้องหมาไปฉีดวัคซีนกระตุ้นอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปี เพื่อให้มีภูมิคุ้มกันป้องกันโรคร้ายแรงบางชนิด ที่มักเกิดขึ้นบ่อยครั้ง และสามารถป้องกันง่ายๆ เพียงฉีดวัคซีนประจำปี 2. โรคอะไรบ้างที่เราสามารถใช้วัคซีนป้องกันได้ ในปัจจุบันโรคติดต่อสำคัญที่พบในสุนัข คือ โรคลำไส้อักเสบในสุนัข

เลี้ยงลูกหมาวัยหย่านม ต้องดูแลอะไรบ้าง?เลี้ยงลูกหมาวัยหย่านม ต้องดูแลอะไรบ้าง?

เจ้าของสุนัขมือใหม่หลายๆ ท่านมักจะมีคำถามว่า เมื่อได้ลูกหมาสมาชิกใหม่วัยหย่านมเข้ามาในบ้าน แล้วเราควรจะต้องมีการเตรียมตัวดูแลพวกเขาอย่างไรบ้าง วันนี้เราจึงขอสรุปหัวข้อง่ายๆ แต่มีความสำคัญอย่างมาก เพื่อให้เจ้าของมือใหม่ได้เตรียมพร้อมในการดูแลลูกสุนัขวัยหย่านมได้ถูกต้อง เพื่อให้พวกเขาเติบโตต่อไปได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรง • เริ่มเปลี่ยนอาหาร : เมื่อลูกสุนัขเข้าสู่ช่วง “หย่านม” แล้วก็แปลว่า เราก็ต้องหาอาหารอื่นมาทดแทนนมแม่ที่ลูกสุนัขเคยกิน แม้จะมีอาหารลูกสุนัขมากมายหลายรสชาติ หลายรสสัมผัส ในท้องตลาด แต่สิ่งที่เจ้าของควรใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจเลือกซื้ออาหารสุนัข คือ “คุณค่าทางโภชนาการ” ว่าอาหารนั้นมีปริมาณสารอาหารที่จำเป็นต่อลูกสุนัขตรงตามที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำหรือไม่ กระบวนการผลิตน่าเชื่อถือหรือเปล่า หากเป็นอาหารที่มีส่วนผสมของ colostrum เช่นเดียวกับนมแม่ ก็จะยิ่งช่วยเสริมสร้างการทำงานของภูมิคุ้มกันให้กับลูกสุนัขได้เป็นอย่างดี โดยอาหารลูกสุนัข PURINA® Pro

5 อาหารต้องระวังสำหรับลูกสุนัข5 อาหารต้องระวังสำหรับลูกสุนัข

     ลูกสุนัขจะสามารถเจริญเติบโตและมีสุขภาพที่ดีจากภายในได้ ส่วนใหญ่จะมาจากปัจจัยสำคัญก็คือ การได้รับอาหารที่ครบคุณค่า มีประโยชน์และเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย … แต่ใครจะคิดล่ะคะว่า อาหารบางชนิดที่เจ้าของเลือกสรรมาให้ลูกสุนัข ในบางครั้งก็อาจจะทำให้ลูกสุนัขมีปัญหาสุขภาพ เกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ กับร่างกายได้ซึ่งอาหารต้องระวังสำหรับลูกสุนัข ได้แก่ 1. อาหารเม็ดใหญ่     ลูกสุนัขจะมีช่องปากและฟันที่เล็ก การให้อาหารเม็ดสำเร็จรูปที่มีขนาดเม็ดที่ใหญ่เกินไปอาจส่งผลเสียต่อลูกสุนัขได้ เพราะเม็ดอาหารอาจไปติดคอ ขวางหลอดลม อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ ดังนั้น เพื่อความปลอดภัย เจ้าของก็ควรเลือกอาหารเม็ดสำเร็จรูปที่มีเม็ดขนาดเล็กที่เหมาะกับปากและฟันเล็ก ๆ ของเขา พร้อมกับสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของลูกสุนัขอย่าง อาหารเพดดิกรี® สูตรลูกสุนัข ที่มี แคลเซียมสูง เพื่อพัฒนาการที่แข็งแรงของกระดูกและฟัน มีวิตามินอี ที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน อาจจะเพิ่มนมทำให้เม็ดอาหารอ่อนนุ่มลงเพื่อลูกสุนัขสามารถกินได้ง่ายขึ้นค่ะ 2. นมวัว      เจ้าของลูกสุนัขส่วนมากมักเข้าใจว่า