Bishopbark การดูแลสุนัข การรักษาสุนัขที่มีอาการขาหลังไม่มีแรง

การรักษาสุนัขที่มีอาการขาหลังไม่มีแรง

การรักษาสุนัขที่มีอาการขาหลังไม่มีแรง

อาการสุนัขขาหลังไม่มีแรง เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย และพบได้ทุกช่วงวัย  เจ้าของมักจะพาน้องหมามาหาหมอด้วยอาการเดินเซ เดินขาหลังปัด  เดินแล้วล้ม หรือลุกลำบาก ซึ่งสาเหตุของอาการเหล่านี้ สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ จากโรคทางกระดูกและข้อ โรคทางระบบประสาท หรือแม้แต่โรคทางอายุรกรรมอื่น ๆ

ดังนั้นการหาสาเหตุของอาการจึงต้องได้รับการวินิจฉัยโดยสัตวแพทย์ ร่วมกับการซักประวัติเจ้าของ เพื่อให้วางแผนการรักษาได้ถูกต้อง และเหมาะสมกับน้องหมาแต่ละตัวค่ะ

โรคที่มักพบว่าเป็นสาเหตุของสุนัขขาหลังไม่มีแรง ได้แก่

โรคข้อสะโพกเสื่อม (Hip dysplasia) เป็นโรคทางกระดูกและข้อที่พบได้บ่อยในสุนัขพันธุ์ใหญ่ เช่น โกลเดน รีทีฟเวอร์ล, ไซบีเรียน ฮัสกี, ลาบาดอร์ รีทีฟเวอร์ และ เยอรมันเชฟเฟิร์ด เป็นต้น

โรคนี้เป็นความผิดปกติของการเจริญของข้อสะโพก ส่งผลให้เกิดภาวะข้อสะโพกเสื่อมตามมา ในรายที่เป็นรุนแรงอาจแสดงอาการตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ดังนั้นเมื่อพบว่าลูกสุนัขขาหลังอ่อนแรง จึงควรรีบพาน้องหมามาพบแพทย์ในทันทีนะคะ 

โรคของไขสันหลัง ได้แก่ โรคไขสันหลังเสื่อม (Degenerative myelopathy), หมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท (Intervertebral disc disease), เนื้องอกในไขสันหลัง (Tumor) และ  ไขสันหลังบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ซึ่งการเกิดโรคที่ไขสันหลังจะส่งผลให้สุนัขเป็นอัมพาตได้

วิธีการรักษาอาการขาหลังอ่อนแรง ทั้งจากโรคทางกระดูกและข้อ และโรคของไขสันหลัง ประกอบด้วย การรักษาด้วย

  • การผ่าตัด
  • การรักษาทางยา
  • การทำกายภาพบำบัดสุนัข  

ซึ่งเรามักจะใช้หลาย ๆ วิธีร่วมกันโดยปรับเปลี่ยนตามสภาพร่างกายของสุนัข และความรุนแรงของโรคค่ะ

การรักษาด้วยการผ่าตัด มักจะนิยมทำในรายที่วิธีการรักษาอื่น ๆ ไม่ได้ผล โดยมีจุดประสงค์หลายอย่าง ทั้งเพื่อลดความเจ็บปวด เพื่อปรับโครงสร้างให้ใกล้เคียงกับปกติ หรือเพื่อเอาเนื้องอกออก

การรักษาทางยา นิยมใช้ในรายที่ผู้ป่วยมีข้อจำกัดไม่สามารถผ่าตัดได้ กลุ่มยาที่นิยมใช้ ได้แก่ ยาลดปวดลดอักเสบ ยาบำรุงข้อ และ วิตามินต่าง ๆ

การทำกายภาพบำบัดสุนัข เป็นวิธีการรักษาหนึ่งที่ปัจจุบันนิยมที่ใช้ร่วมกับการรักษาอื่นๆเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดียิ่งขึ้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อ ลดอาการปวด ฟื้นฟู และเสริมสร้างการทำงานของกล้ามเนื้อ ข้อต่อและระบบประสาท การกายภาพบำบัดมีทั้งแบบใช้อุปกรณ์ และไม่ใช้อุปกรณ์ ยกตัวอย่างเช่น การยืดหดข้อต่อ (PROM) การใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า เครื่องเลเซอร์ จนถึงการทำธาราบำบัด

Related Post

โดเบอร์แมน พินสเชอร์โดเบอร์แมน พินสเชอร์

เป็นสุนัขที่มีพลัง กระตือรือล้น และต้องการการออกกำลังกายในปริมาณมาก หากไม่ได้รับการออกกำลังกาย เขามีแนวโน้มที่จะรบกวนหรืออาจจะก้าวร้าวได้ การฝึกให้เชื่อฟังและการเข้าสังคมอย่างระมัดระวังเป็นสิ่งที่จำเป็น ข้อมูลเบื้องต้นเกียวกับสุนัขพันธุ์โดเบอร์แมน The Doberman Dog Breed ชายชาวเยอรมันชื่อ หลุยส์ โดเบอร์แมน (Louis Dobermann) เป็นผู้ที่พัฒนาสายพันธุ์โดเบอร์แมน พินสเชอร์ในปลายคริสตศักราชที่ 1800 ขนาด: น้ำหนัก: เพศผู้: 65-90 ปอนด์ เพศเมีย: 65-90 ปอนด์ ความสูง: เพศผู้: 26-28

ไซบีเรียน ฮัสกี้ (Siberian Husky)

ไซบีเรียน ฮัสกี้ (Siberian Husky)ไซบีเรียน ฮัสกี้ (Siberian Husky)

สุนัขลากเลื่อนที่มีท่วงท่าสง่างาม มีถิ่นกำเนิดจากเอเชียตอนเหนือ มีความอดทนแข็งแรงดีเลิศ อดีตเป็นสุนัขใช้งานลากเลื่อนในเมืองหนาว นับเป็นสัตว์ที่ปรับตัวเก่ง ใจดี ไม่ก้าวร้าว ไซบีเรียน ฮัสกี้ เป็นสุนัขที่มีขนสองชั้น สีพื้นเป็นสีน้ำตาล ดำ เทา แต่ใบหน้าต้องมีสีขาวเท่านั้น ขอบตาเป็นสีดำ ขนสั้นตรงฟู แน่น หัวมีขนาดปานกลาง ดูสมส่วนกับขนาดลำตัว ใบหูตั้งตรง รูปตาเรียว หางฟูพอง มักจะโค้งเป็นพวงขึ้น บนหลังคล้ายกับสุนัขจิ้งจอก ต้องการออกกำลังกายเป็นหลัก จุดเด่นของสุนัขพันธุ์นี้คือ มีความอดทนสูงมาก ทำงานได้ดังหุ่นยนต์ รักเจ้านาย ครอบครัว

ยอร์กไชร์เทอร์เรีย (Yorkshire Terrier)

ยอร์กไชร์เทอร์เรีย (Yorkshire Terrier)ยอร์กไชร์เทอร์เรีย (Yorkshire Terrier)

สุนัขตัวน้อย ขนยาว เส้นบาง มันวาวสลวย มีถิ่นกำเนิดในประเทศอังกฤษ ถือว่าเป็นสุนัขสวยงามมาก เป็นสัตว์เลี้ยงที่มีชีวิตชีวา รักเจ้าของ ขี้ประจบ สามารถปรับตัวให้เข้ากับชีวิตสังคมเล็กๆ เช่นในอพาร์ตเม้นต์ได้ดี ลักษณะทั่วไป สีมี 2 สีบนตัว สีน้ำตาลทองจะมีอยู่บนใบหน้า อก ท้อง และบริเวณปลายเท้า เส้นขนจะมีสีดำน้ำเงินที่โคนไล่ลงมาถึงตอนกลาง และจะมีสีน้ำตาลทองที่ส่วนปลายหัว ขนข้างจะมีขนาดเล็ก และเรียบไม่นูนกลม ปากแหลมยาวสมส่วน จมูกจะมีสีดำสนิท หูตั้งเป็นรูปตัววี มีขนสั้นๆ สีทองปกคลุม ขนยาวตรงปกคลุมทั้งตัว เท้าค่อนข้างกลมมีเล็บเท้าสีดำ