Bishopbark การดูแลสุนัข,ลักษณะของสุนัข ประวัติและลักษณะทั่วไปของสุนัข

ประวัติและลักษณะทั่วไปของสุนัข

สุนัขมีต้นกำเนิดมาจากสุนัขป่านุษย์แถบขั้วโลกเหนือนำมันมาเลี้ยงเมื่อประมาณ 2,000 ปีที่แล้ว เชื่อกันว่า สุนัขป่าตัวแรกนั้น เกิดขึ้นเมื่อ 100 ล้านปีก่อน การอพยพข้ามถิ่นและทวีปต่างๆ ทำให้สุนัขมีหลายสายพันธุ์ ชาวจีนมีความเชื่อว่าสุนัขที่ชื่อ Fu มีความซื่อสัตย์ และนำความเจริญมาให้ เป็นสุนัขคล้ายพันธุ์ปักกิ่ง “อนูบิส” ซึ่งเป็นชื่อของเทพเจ้าอียิปต์ที่ตัวเป็นคน หัวเป็นสุนัข และเชื่อว่าสามารถส่งวิญญาณมนุษย์ได้ สุนัขพันธุ์ที่เรียกได้ว่าเป็นสุนัขพันธุ์ต้นตระกูลคือพันธุ์สุนัขทองที่มีอยู่อย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ต่อมามีสุนัขป่าอีกพันธุ์หนึ่งที่มนุษย์นำมาเลี้ยงมีชื่อภาษาละตินว่า Conis Lupees ซึ่งแปลว่าสุนัขป่า สุนัขป่าชนิดนี้จะเชื่องกว่าสุนัขธรรมดา มีขนยาว หางเป็นแผง หูตั้ง กระดูกแก้มโหนก และหางของมันจะเอนขึ้นข้างบน มีนิสัยรักอิสระกว่าสุนัขทอง สุนัขป่านี้เมื่อมาอยู่กับมนุษย์ก็ผสมพันธุ์กับสุนัขทอง ออกลูกหลานสืบมาเป็นสุนัขพันธุ์ต่าง ๆ มากมาย พันธุ์สุนัขที่เห็นทุกวันนี้ได้รับเชื้อสายมาจากสุนัขพันธุ์ทองเกือบทั้งหมด การค้นคว้าวิจัยและศึกษาเรื่องราวของสุนัข ได้มีขึ้นในประเทศอังกฤษ ในแถบยุโรปและอเมริกา แล้วจึงแพร่หลายไปในส่วนต่าง ๆ ของโลก ในสหรัฐอเมริกาได้มีการจัดตั้งเป็นสมาคมผู้เลี้ยงสุนัขขึ้นในปี ค.ศ. 1878 (พ.ศ. 2421) สุนัขพันธุ์แท้ชนิดแรกที่ได้จดทะเบียนในสหรัฐอเมริกาคือ สุนัขพันธุ์อิงลิชเซทเตอร์ ในประเทศอังกฤษได้มีการรวบรวมกันตั้งสมาคมผู้เลี้ยงสุนัขขึ้นเช่นกันในปี ค.ศ. 1859 (พ.ศ. 2402) ในครั้งแรกสมาคมนี้ได้รับรองให้จดทะเบียนสุนัขพันธุ์แท้ได้ 40 สายพันธุ์ และได้จัดวิธีการรับรองสุนัขพันธุ์ต่าง ๆ เพื่อความเหมาะสมถึง 2 ครั้ง ในปี ค.ศ. 1881 (พ.ศ. 2424) สมาคมนี้ได้ให้การรับรองพันธุ์แท้ต่างๆ รวมเป็นจำนวน 46 พันธุ์ การแก้ไขเพิ่มเติมการรับรองเป็นสุนัขพันธุ์แท้เป็นครั้งสุดท้าย เมื่อปี ค.ศ. 1974 (พ.ศ. 2417) ได้มีสุนัขที่ให้การรับรองทั้งหมด 100 สายพันธุ์ สำหรับในประเทศไทยนั้น ก็มีผู้สนใจการเลี้ยงสุนัขรวบรวมกันจัดตั้งสมาคมขึ้นเช่นกัน โดยปรารถนาจะส่งเสริมบำรุงและอำนวยประโยชน์ให้แก่ผู้เลี้ยงสุนัขเหมือนกับต่างประเทศ โดยใช้ชื่อว่า สมาคมผู้นิยมสุนัขแห่งประเทศไทย ได้ทำการจดทะเบียนตั้งสมาคมเมื่อปี ค.ศ. 1955 (พ.ศ. 2498) ถือเป็นการวางรากฐานในการเลี้ยงสุนัขขึ้นในประเทศไทยเป็นแห่งแรก และตั้งใจที่จะให้เป็นประโยชน์แก่ผู้เลี้ยงสุนัขในประเทศไทยได้เช่นเดียวกับต่างประเทศ

ลักษณะทั่วไปและการล่าเหยื่อ

สุนัขเป็นสัตว์ที่มีหลายสายพันธุ์ ซึ่งแต่ละสายพันธุ์ก็จะมีลักษณะทั่วไปและลักษณะเฉพาะที่ต่างกันออกไป แต่ลักษณะโดยรวมของสุนัขทั่วๆ ไปแล้ว สุนัขเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม ออกลูกเป็นตัว มีขนสั้นหรือยาวแตกต่างไปตามสายพันธุ์ บางตัวอาจมีขนสีดำ สีขาว สีน้ำตาล สีส้ม หรือบางตัวอาจมีหลายสีปะปนกัน ขนาดของหูจะสั้นหรือยาวก็แตกต่างไปตามสายพันธุ์เช่นกัน สุนัขสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้ดังนี้

สุนัขเล่นกีฬาสุนัขเล่นกีฬา (Sporting Dogs) เป็นสุนัขพันธุ์ที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อเป็นผู้ช่วยในการล่าสัตว์โดยเฉพาะ มีหน้าที่การค้นหาเหยื่อ และนำเหยื่อกลับมาให้เจ้าของ เราสามารถแบ่งสุนัขเล่นกีฬาได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้ สเปเนี่ยน เป็นพันธุ์สุนัขที่มีรูปร่างขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่เกินไป เฉลียวฉลาด จมูกรับกลิ่นได้ดี ลักษณะเด่นคือหูยาวตูบ แบ่งย่อยได้เป็น 2 กลุ่มคือ พันธุ์ที่ใช้ล่าสัตว์ และพันธุ์ขนาดเล็ก (ปัจจุบันจัดอยู่ในกลุ่มสุนัขที่เลี้ยงไว้ดูเล่น) ในขณะที่มันออกล่าสัตว์ เมื่อมันพบเหยื่อ มันจะพุ่งเข้าโจมตีเหยื่อทันที พอยเตอร์ และเซทเตอร์ เป็นพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่กว่าสเปเนี่ยน ขายาว หูตูบ และจมูกรับกลิ่นได้ดี รีทรีฟเวอร์ เป็นสุนัขที่เป็นมิตร แข็งแรง มีโครงสร้างดี และ มีความเชี่ยวชาญในการล่าสัตว์ มันถนัด การค้นหา และนำเหยื่อกลับมาให้เจ้าของ มันมักจะทำงานร่วมกับสุนัขพันธุ์สเปเนี่ยน นอกจากนี้ รีทรีฟเวอร์ยังสามารถว่ายน้ำได้ดี มันจึงมักถูกใช้ในการล่าสัตว์ปีกที่บินอยู่เหนือน้ำ เช่น ห่านป่า เป็นต้น

สุนัขเทอร์เรียสุนัขเทอร์เรีย (Terriers) เป็นสุนัขขนาดเล็ก ต้นกำเนิดอยู่ในประเทศอังกฤษ มีนิสัยชอบดมกลิ่น อยากรู้อยากเห็น ตามรอย และขุดหาสิ่งที่สงสัย มันจึงกลายเป็นผู้ช่วยในการล่าสัตว์ สุนัขเทอร์เรียจะทำหน้าที่ตามรอยสัตว์ป่า เช่น กระต่าย หนู แบดเจอร์ หมาป่า เมื่อพบแหล่งที่อยู่อาศัยของเหยื่อ มันจะมุดลงไปในรูนั้น ทำให้สัตว์เหล่านั้นตกใจและวิ่งออกมาจากรัง เพื่อให้คนตามล่าต่อไป แม้เทอร์เรียจะเป็นสุนัขที่มีขนาดเล็ก ขาสั้น แต่เคลื่อนไหวได้อย่างว่องไว มีความมานะอดทน บากบั่น กล้าหาญ ทำให้มันเคยถูกใช้เป็นสุนัขสงคราม แต่ปัจจุบันนิยมนำมาเลี้ยงเป็นเพื่อนเล่นในบ้าน สุนัขเทอร์เรียแยกย่อยได้อีกหลายสายพันธุ์ อาจแบ่งเทอร์เรียเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ ตามลักษณะของขน ได้แก่ พันธุ์ขนเรียบและสั้น เช่น ฟอกซ์ เทอร์เรียขนสั้น พันธุ์ขนหยาบและยาว เช่น สก็อตทิช เทอร์เรีย และ เคอรีบลู เทอร์เรีย เป็นต้น  บนเกาะอังกฤษนั้น มีสุนัขเทอร์เรียอีกมากมายหลายสายพันธุ์ กระจายไปตามท้องที่ต่างๆ แต่ส่วนหนึ่งได้กลายพันธุ์ไป เหลือแต่สายพันธุ์ที่ได้รับความนิยม เช่น ฟ็อกซ์ เทอร์เรีย, บูล เทอร์เรีย, แบดลิงตัน และ แมนเชสเตอร์ เทอร์เรีย จากเกาะอังกฤษ สกาย, เครน และ สก็อตทิช เทอร์เรีย จากสก็อตแลนด์ ไอริช และเคอรีบลู เทอร์เรีย จากไอร์แลนด์ เป็นต้น

เกี่ยวกับหมาและสัตว์เลี้ยง

ประวัติและลักษณะทั่วไปของสุนัข

Related Post

วิธีการเลี้ยงสุนัขพันธุ์อเมริกันบลูลี่

วิธีการเลี้ยงสุนัขพันธุ์อเมริกันบลูลี่วิธีการเลี้ยงสุนัขพันธุ์อเมริกันบลูลี่

สุนัขสายพันธุ์อเมริกันบูลลี่เป็นหมาน่ารัก ใจดี ขี้เล่น ติ๊งต๊องชอบให้พาออกกำลังกายและที่สำคัญสุนัขที่โตมานั้นลักษณะนิสัยจะเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับการเลี้ยงดูและเอาใจใส่ของเจ้าของด้วยครับ การเจริญเติบโต           ช่วงอายุ 1-3 เดือน ช่วงอายุนี้จะเป็นช่วงนี่น่ารักที่สุด ให้ทำไรก็ทำชอบอยู่กับคน อาหารสำหรับวัยนี้เน้นโปรตีนส่วนมากได้แก่ นม เนื้อไก่ เนื้อวัวและ ไข่                ช่วงอายุ 3-7 เดือน จะเป็นช่วงยืดตัว ยังต้องดูแลอาหารเน้นโปรตีนครับ เนื้อ นม

เมื่อหลานแมวเข้ามาเปลี่ยนชีวิตของลุงหมาเมื่อหลานแมวเข้ามาเปลี่ยนชีวิตของลุงหมา

ได้ดูทีวีรายการของทางญี่ปุ่น เรื่องราวเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยง บ้านหลังนึงเลี้ยงสุนัขไว้ 1 ตัว มันแก่มากแล้ว อายุ 12 ปี ถ้าเทียบกับคนก็ต้องเอาเลข 7 คูณเข้าไป กลายเป็นลุงหมาเลยล่ะ วันๆ ลุงหมาเอาแต่นอนซึมเศร้าอยู่ในบ้านหลังเล็กๆ ที่เจ้าของทำให้ตรงสนามหญ้าหลังบ้าน ลุงหมาไม่เล่น ไม่เดิน ไม่สนใจ ไม่แคร์สื่อ ไม่แยแสอะไรทั้งนั้น นอนซึมไร้ชีวิตชีวาตามวัยที่ร่วงโรย ป้าเจ้าของก็ได้แต่เป็นห่วง เพราะดูสภาพแล้วถ้าลุงหมายังคงซึมกะทืออย่างนี้ต่อไป

สุนัขอ้วน ไม่ได้เป็นแค่โรคอ้วน ?สุนัขอ้วน ไม่ได้เป็นแค่โรคอ้วน ?

ปัจจุบันสุนัขป่วยเป็นโรคอ้วนกันมากขึ้น ข้อมูลผลสำรวจของ Association for Pet Obesity Prevention (APOP) เมื่อปี ค.ศ. 2017ที่ผ่านมากพบสุนัขในสหรัฐอเมริกามากกว่า 56% มีน้ำหนักเกินมาตรฐานหรืออ้วน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า (จากปี ค.ศ.2016)ที่มีสุนัขมีน้ำหนักเกินมาตรฐานอยู่ที่ 54% ซึ่งผลกระทบที่ตามมาจากการที่สุนัขอ้วนนี้ก็มีอยู่หลายกรณี และเมื่อสุนัขอ้วนแล้วจะมีปัญหาอะไรตามมา เราไปดูกัน โรคอ้วนในสุนัข คือ ภาวะที่ร่างกายมีการสะสมไขมันส่วนเกินมากเกินไปโดยนิยามแล้วสุนัขที่จัดว่าเป็นโรคอ้วนต้องมีน้ำหนักตัวมากกว่า 15-30 % ของน้ำหนักตัวมาตรฐานของแต่ละพันธุ์โดยสุนัขที่อ้วนจะพบว่า มีไขมันหนาสะสมอยู่ตามบริเวณแผ่นหลังและโคนหาง มองไม่เห็นเอวจับหรือคลำกระดูกซี่โครงหรือกระดูกสะโพกไม่พบ สุนัขมีนิสัยกินเก่งมา กินได้ทั้งวัน