Bishopbark เรื่องน่ารู้ ทุกข์บำบัดได้ด้วยสัตว์เลี้ยง

ทุกข์บำบัดได้ด้วยสัตว์เลี้ยง

ทุกข์บำบัดได้ด้วยสัตว์เลี้ยง post thumbnail image

          ในปัจจุบันคงปฏิเสธไม่ได้ว่าสัตว์เลี้ยงได้เขามามีส่วนสำคัญกับชีวิตของคนเรามากขึ้น เนื่องจากว่าสภาพสังคมของเรานั้นได้เปลี่ยนแปลงไป จากครอบครัวใหญ่ที่มีสมาชิกหลายคนมาเป็นครอบครัวเดี่ยว จากสังคมชนบทมาเป็นสังคมเมือง เมื่อสภาพสังคมเปลี่ยนไปจากเดิมจึงทำให้มีผลต่อสภาพจิตใจของคน เกิดความเหงา ความเครียดขึ้นมาได้ สิ่งหนึ่งที่จะเข้ามาทดแทนและดูแลจิตใจได้ดีที่สุดก็น่าจะเป็นสัตว์เลี้ยงต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น สุนัข แมว ปลา

          มนุษย์รู้จักนำสุนัขมาเป็นสัตว์เลี้ยงในครอบครัวเมื่อประมาณ 12,000 ปีมาแล้ว ส่วนแมวได้เริ่มเข้ามามีชีวิตในบ้าน เมื่อ 5,000 ปีมานี้เอง นักจิตวิทยามักจะถามว่า เหตุใดคนเราจึงนิยมมีสัตว์เลี้ยง

    คำตอบหนึ่งซึ่งเป็นที่ยอมรับคือว่า การมีสัตว์เลี้ยงเป็นการตอกย้ำความรู้สึกตามธรรมชาติของคนว่ามีความรัก และหวังดีต่อสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ

          ในรัชสมัยของพระนางวิกตอเรีย รัฐบาลอังกฤษ ได้เคยออกกฎหมายคุ้มครองสัตว์ให้รอดพ้นจากการถูกเฆี่ยนตี ก่อนที่จะมีกฎหมายคุ้มครองเด็กเสียอีก

          ทั้งนี้ สถิติการสำรวจในอเมริกาพบว่า คนอเมริกันเลี้ยงสุนัข 60 ล้านตัว แมว 55 ล้านตัว ประธานาธิบดี Bushเลี้ยงสุนัข Clinton เลี้ยงแมว และถึงแม้สัตว์เหล่านี้จะสร้างความรำคาญ และนำโทษมาให้เป็นครั้งคราว เช่น พยาธิ psittacosis ซึ่งทำให้เกิดอาการไข้หวัดก็มักจะมาจากนก พยาธิตัวกลมมักจะมาจากอจุจาระแมว แต่คนที่มีเลี้ยงสัตว์เหล่านี้ก็ต้องยอมทน เพราะเขาได้รับมิตรภาพอันอบอุ่นจากสัตว์เป็นสิ่งตอบแทน

          ปัจจุบันนี้มีงานวิจัยหลายชิ้น ที่กำลังแสดงให้เห็นว่า สัตว์เลี้ยงนอกจากให้ความเป็นเพื่อนแก่คนเลี้ยงแล้ว มันยังอำนวยประโยชน์ด้านอื่น ๆ อีก เช่น E. Fried mann แห่ง City University of New York พบว่า คนไข้โรคหัวใจที่มีสัตว์เลี้ยงมีโอกาสเสียชีวิตน้อยกว่าคนที่ไม่เลี้ยงอะไรเลยถึง 3% เขาพบว่า สัตว์เลี้ยงช่วยลดความดันโลหิตให้กับเจ้าของ

 และเมื่อไม่นานมานี้เอง นักจิตวิทยาชาวอังกฤษผู้หนึ่งพบว่า คนที่เลี้ยงแมวหรือสุนัข มักจะไม่เป็นโรค ปวดหัวหรือปวดหลัง และคนที่มีสัตว์เลี้ยงจะมีโคเลสเตอรอลในเลือดน้อยกว่าคนที่ไม่มี นั่นก็หมายความว่าหมา และแมวทำให้เจ้าของมีโอกาสเป็นโรคหัวใจน้อย เหตุที่เป็นเช่นนี้ นักจิตวิทยา J.Serpell อธิบายว่า คงเป็น เพราะคนที่เลี้ยงสัตว์จะต้องพามันออกกำลังกาย เขาจึงต้องเดินออกกำลังกายไปด้วย สุขภาพร่างกายโดยทั่วไป ของเจ้าของจึงดี

   นอกจากนี้ นักจิตวิทยาเชื่อว่า สัตว์เลี้ยงมีบทบาทช่วยในการเสริมสร้างความมั่นคงทางอารมณ์ให้กับผู้เลี้ยง เพราะถึงแม้มันจะพูดไม่ได้ มันก็ไม่เคยโกหก ไม่เคยวิพากษ์วิจารณ์เจ้าของ มันนั่งฟัง มันเข้าใจ มันไม่ถาม ไม่สงสัย มันซื่อสัตย์ มันจึงเป็น “เพื่อน” ที่จำเป็นมากสำหรับคนบางคน นักจิตวิทยาหลายคนกำลังใช้วิธีหาหมาหรือแมวให้กับคนไข้ที่ป่วยทางจิตใจ เพราะหมาหรือแมวเหล่านี้แสดงความเป็นเพื่อนกับคนได้มากกว่าสัตว์ชนิดอื่น มันรู้จักเคล้าแข้ง เคล้าขา มันนั่งเฝ้าระวังขโมยและมันเชื่อฟังมากเสียจนทำให้คนเลี้ยงรู้สึกว่า ตัวเองเป็นที่น่ายกย่อง เป็นที่ชื่นชม และเป็นที่ต้องการ ในแง่นี้สัตว์เลี้ยงจึงทำ หน้าที่เติมความมั่นใจในตนเองให้กับผู้เลี้ยง ทำให้เขามีความรู้สึกที่ดี รู้สึกสู้กับความกดดันภายนอก

          ในเมื่อสัตว์เลี้ยงดีถึงปานนี้แล้ว เหตุไฉนบ้านทุกบ้านจึงไม่มีสัตว์เลี้ยงด้วยเล่า สำหรับเรื่องนี้นักจิตวิทยาพบว่า ประสบการณ์ในวัยเด็กมักจะเป็นตัวกำหนดรูปแบบของชีวิตในวัยผู้ใหญ่ เด็กใดที่ได้รับการเลี้ยงดูมากับสัตว์เลี้ยง เวลาโตขึ้นเขาก็มักจะนิยมนำสัตว์มาเลี้ยง เด็กใดที่พ่อแม่ไม่เคยเลี้ยงอะไรเลย เวลาเติบใหญ่ก็มักจะไม่เลี้ยงอะไรเลยเหมือนกัน นักจิตวิทยายังตั้งข้อสังเกตอีกว่า คนใดที่มีสัตว์เลี้ยงตามปกติแล้วก็มักจะมีจิตใจที่สงสารและเอื้ออาทรต่อสิ่งแวดล้อมต่อสัตว์ และเพื่อนมนุษย์ด้วยกันมากกว่าคนที่ไม่มีสัตว์เลี้ยง

          ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องจริงที่สุดเพราะสำหรับผู้เขียนเองนั้น ไม่ได้รับการปลูกฝังให้เลี้ยงสัตว์มาตั้งแต่เด็ก ๆ จึงไม่มีความผูกพันกับสัตว์เลี้ยงมากนัก ถามว่ารักมั้ย ชอบมั้ย ตอบได้ว่า ก็รักนะ ไม่ได้เกลียด แต่คงจะไม่มากพอเท่ากับคนที่ได้เลี้ยงมาตั้งแต่เด็ก ๆ พอมามีลูกด้วยความที่เราไม่มีสัตว์เลี้ยงในครอบครัว ลูกก็จะเหมือนกับเราก็คือ จะไม่มีความผูกพันกับสัตว์เลี้ยงเอาซะเลย บางครั้งจะกลัวเสียด้วยซ้ำ มื่อเห็นสุนัขหรือแมว ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ดีเอาซะเลย ทำให้กลับมาคิดว่าทำไมนะ เราถึงไม่ปลูกฝังให้เค้าเป็นคนที่รักสัตว์แทนที่จะกลัวอย่างนี้ ทั้ง ๆ ที่สัตว์เลี้ยงมีประโชน์ตั้งหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นทางด้านจิตใจ ทำให้จิตใจอ่อ่นโยน มีเมตตา หรือในด้านร่างกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรงได้ออกกำลังกายในการพาเค้าวิ่งเล่น ประโยชน์มากมายขนาดนี้ ใครที่ยังห่างไกลจากสัตว์เลี้ยงก็ลองหาโอกาสได้ใกล้ชิดซะแล้วจะได้รู้ว่า ของเค้าดีจริง

Related Post

9 สุนัขพันธุ์น่ารักที่ทำให้หัวใจของเราสั่น9 สุนัขพันธุ์น่ารักที่ทำให้หัวใจของเราสั่น

สำหรับเหล่าคนรักสุนัขอาจจะลังเลว่าควรจะเลี้ยงสุนัขสายพันธุ์ไหนดี และถ้าเกิดพวกคุณชอบสุนัขที่มีนิสัยน่ารัก ขนาดไม่ใหญ่จนเกินไป ลองอ่าบทความนี้ที่รวบรวม 9 สุนัขพันธุ์น่ารักที่ทำให้หัวใจของเราสั่นสะเทือนได้เลย . #1 บีชันฟรีส . บิชอง ฟริเซ่เป็นน้องหมานิสัยร่าเริง มีความสุข รูปร่างเล็ก ตาสีเข้ม ขี้สงสัย หางปุกปุย ขนเหมือนปุยฝ้าย หยิกฟูกลมเป็นลูกบอล ขนชั้นนอกหยาบ ส่วนขนชั้นในนุ่มเหมือนแพรไหม ขนสีขาว แต่ก็มีเชดสีครีม สีแอปริคอท รอบ ๆ หูหรือขนบนลำตัว . #2 เบอร์นีส เมาน์เทนด็อก . เบอร์นีส

บ้านส่วนตัวของน้องแมวจากฟางข้าว ไอเดียยอดนิยมสำหรับคนรักแมวบ้านส่วนตัวของน้องแมวจากฟางข้าว ไอเดียยอดนิยมสำหรับคนรักแมว

คนญี่ปุ่นนำฟางข้าวมาใช้ประโยชน์มากมาย ทั้งใช้เป็นปุ๋ย ประดับสวน ประดับบ้านตอนปีใหม่ และใช้คลุมดินในการเกษตร แต่นอกจากนี้แล้วคนญี่ปุ่นก็ยังนำฟางข้าวมาสานเป็นบ้านแมวด้วย มาดูบ้านน้องแมวจากฟางข้าวของคนญี่ปุ่นกันนะคะ บ้านแมวจากฟางข้าว บ้านแมวจากฟางข้าว หรือ เนะโกะชิกุระ (猫ちぐら) นั้นเกิดขึ้นครั้งแรกที่หมู่บ้านเซคิคาวะ จังหวัดนีกะตะ ที่ซึ่งชาวนาอยากทำบ้านส่วนตัวให้แมวซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกครอบครัว โดยการนำฟางข้าวมาสานอย่างประณีต จนได้บ้านแมวที่ให้แมวได้เข้าไปอยู่อย่างสบายใจและสามารถปีนขึ้นไปนั่งข้างบนได้ ด้วยเป็นวัสดุธรรมชาติจากฟางข้าว บ้านแมวจะเก็บความชื้นได้ดีและอากาศถ่ายเทผ่านได้สะดวก ทำให้เย็นสบายในฤดูร้อนและอบอุ่นในฤดูหนาว อีกทั้งการออกแบบยังรู้ใจธรรมชาติของแมวว่าแมวเป็นสัตว์ที่ชอบที่แคบและอบอุ่น ทำให้บ้านแมวจากฟางข้าวกลายเป็นบ้านถูกใจที่น้องแมวไม่ปฎิเสธ

เทคนิค เลี้ยงร็อตไวเลอร์ให้ขี้เล่น ทำได้ไม่ยากเทคนิค เลี้ยงร็อตไวเลอร์ให้ขี้เล่น ทำได้ไม่ยาก

ขึ้นชื่อว่าเป็นพันธุ์ร็อตไวเลอร์ (Rottweiler) หลายๆ บ้านที่ได้ฟังอาจจะไม่ให้ความนิยมว่าเป็นสัตว์เลี้ยงที่สวยงามนัก แต่ความเป็นจริง ร็อตไวเลอร์เป็นสุนัขที่มีโครงสร้างและกล้ามเนื้อสวยงาม และหากได้รู้จักนิสัยใจคอที่แท้จริงของสุนัขพันธุ์นี้แล้ว อาจจะจัดอยู่ในกลุ่มสุนัขที่มีความฉลาดเฉลียว ฝึกอบรมได้ง่าย และมีความจงรักภักดีกับเจ้าของมากที่สุด เพราะความพิเศษของเจ้าสุนัขพันธุ์นี้ในด้านของความจงรักภักดีกับเจ้าของ ผนวกไปถึงเรื่องของความขี้สงสัยและความอยากรู้อยากเห็นที่มีอยู่ในตัว ทำให้ดูเหมือนจะเป็นสุนัขที่ไม่อยู่นิ่ง ยิ่งด้วยใบหน้าที่ดูทะมึนด้วยแล้ว ยิ่งสร้างความรู้สึกให้ผู้เห็นเกรงขามและไม่กล้าเข้าใกล้ แต่เมื่อได้พูดคุยกับเจ้าของฟาร์มธารารัตน์ ซึ่งการันตีให้ฟังว่า สุนัขสายพันธุ์ร็อตไวเลอร์นี้ เป็นสุนัขที่สามารถฝึกได้ และไม่ใช่สุนัขดุอย่างที่คิด เด็กหนุ่มวัย 26 ปี ก้าวเข้ามาเป็นเจ้าของฟาร์มสุนัขร็อตไวเลอร์ ตั้งแต่ 6 ปีที่แล้ว คุณธารา เล่าให้ฟังว่า ชอบสุนัขมาตั้งแต่เด็ก