ชิวาว่า (Chihuahua)

ชิวาว่า (Chihuahua) post thumbnail image

เชื่อกันว่า สุนัขพันธุ์ชิวาว่าถูกค้นพบครั้งแรกในประเทศเม็กซิโก นับเป็นสุนัขพันธุ์ที่ขนาดตัวเล็กที่สุดในโลก ลักษณะนิสัยที่โดดเด่นคือ ซื่อสัตย์ต่อเจ้าของ ปัจจุบันเป็นที่นิยมอย่างมากในหลายประเทศทั่วโลก

ลักษณะภายนอกของชิวาว่า
ชิวาว่าเป็นสุนัขขนาดเล็ก น้ำหนักเพียง 1-3 กิโลกรัม สูงเพียง 6 – 10 นิ้วเท่านั้น จึงนับเป็นสุนัขที่มีขนาดเล็กที่สุดในโลก รูปร่างกระทัดรัด สวยงาม ความยาวลำตัวมากกว่าความสูงเล็กน้อย ขนของชิวาว่ามีทั้งแบบยาว นิ่ม ตรง เรียบลื่นเป็นเงาและนุ่ม หรือหยักเป็นคลื่น มีปอยขนที่ใบหู มีหลายสี เช่น สีดำล้วน ขาวล้วน มีจุด หรือมีลวดลาย เป็นต้น

อุปนิสัยและอารมณ์ของชิวาว่า
ลักษณะนิสัยที่โดดเด่นของชิวาว่าคือ กระตือรือร้น ร่าเริงคล้ายกับสุนัขในกลุ่มเทอร์เรีย จงรักภักดีต่อเจ้าของ ชอบเอาอกเอาใจ แต่บางครั้งก็ขึ้นอยู่กับลักษณะนิสัยส่วนตัว เช่น บางตัวจะแสดงท่าทีสงวนตัวเวลาอยู่กับคนแปลกหน้า ด้วยการนิ่งเฉย เห่าหรือขู่

การดูแลชิวาว่า
ชิวาว่าเหมาะกับการเลี้ยงในบ้าน ไม่เหมาะกับอากาศหนาวและชอบอยู่ในบริเวณที่มีอากาศอบอุ่น การดูแลขนไม่ยุ่งยาก หากเป็นสายพันธุ์ขนยาว ควรแปรงขนอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 – 3 ครั้ง อาบน้ำสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง การออกกำลังทำได้ง่าย เพียงแค่มีพื้นที่ให้วิ่งภายในบ้าน หรือพาออกไปเดินเล่นหรือวิ่งตามสวนสาธารณะโดยใช้สายจูงในระยะทางสั้น ๆ

สุขภาพของชิวาว่า
อายุของสุนัขพันธุ์ชิวาว่าอยู่ระหว่าง 14 – 18 ปี ปัญหาที่พบได้บ้าง ได้แก่ ตาแห้ง (Keratoconjunctivitis sicca; KCS) ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ลิ้นหัวใจตีบ สะบ้าเคลื่อน และสมองบวมน้ำ ปัญหาที่รุนแรงและพบได้บ่อยในสุนัขพันธุ์ชิวาว่า ได้แก่ การมีรูเปิดบนกระโหลกซึ่งเกิดขึ้นจากกระดูกของกระโหลกส่วนหน้าไม่เชื่อมติดกันดี เจ้าของจึงต้องหมั่นดูแลสุขภาพเป็นพิเศษ

ประวัติสายพันธุ์ของชิวาว่า
ประวัติสายพันธุ์ของชิวาว่าไม่แน่ชัด ความเชื่อแรกกล่าวว่า ชิวาว่าถูกพัฒนาสายพันธุ์ในประเทศจีน จากนั้นถูกนำไปอเมริกาโดยพ่อค้าชาวสเปน แล้วได้รับการผสมข้ามพันธุ์กับสุนัขพื้นเมืองที่มีขนาดเล็ก

อีกความเชื่อกล่าวว่า สุนัขพันธุ์นี้มีต้นกำเนิดมาจากแถบอเมริกาตอนใต้และกลาง โดยพัฒนามาจากสุนัขพื้นเมืองที่มีขนาดเล็กที่เรียกว่า Techichi ซึ่งเป็นเครื่องสังเวยของชนเผ่า Toltec โดยมีความเชื่อว่าสุนัขตัวจิ๋วสีแดงนี้จะนำพาดวงวิญญาณไปสู่ใต้พิภพหลังความตาย

ชาว Toltec และชาว Aztec จึงเลี้ยงสุนัขเอาไว้และฝังไปพร้อมกับคนในครอบครัวที่ตายจากไป (ทั้งสองชนเผ่ามีความเชื่อที่คล้ายกันเกี่ยวกับสุนัข Techichi) แม้ปัจจุบันจะไม่มีการฝังสุนัขในพิธีกรรมทางศาสนาแล้ว แต่นักบวชชาว Toltec และ Aztec ก็ยังคงผูกพันกับและดูแลสุนัข Techichi เป็นอย่างดี

บรรพบุรุษของสุนัขชิวาว่าเกือบสูญพันธุ์ในช่วงปี 1500 เมื่อจักรวรรดิ Aztec ถูกรุกรานและยืดครองโดย Hernan Cortes และอาณานิคมสเปน กระทั่งปี 1850 มีการค้นพบสุนัขขนาดเล็กสามตัวที่คล้ายกับชิวาว่าในปัจจุบัน โดยค้นพบในประเทศเม็กซิโก รัฐ Chihuahua ซึ่งเป็นที่มาของชื่อสายพันธุ์ของสุนัขชนิดนี้ และยังถือว่าชิวาว่าเป็นสัญลักษณ์ของประเทศเม็กซิโกอีกด้วย

ทั้งนี้สุนัขพันธุ์ชิวาว่าเริ่มเป็นที่รู้จักและเป็นที่นิยมในช่วงศตวรรษที่ 19 โดยเหตุการณ์ที่เด่นชัดคือในปี 1890 Adelina Patti นักร้องโอเปร่าได้นำสุนัขพันธุ์ชิวาว่าเดินไปทางทัวร์คอนเสิร์ตยังที่ต่างๆ ซึ่งสุนัขตัวนี้เธอได้รับเป็นของขวัญจาก Porfirio Diaz ประธานาธิบดีของเม็กซิโกในขณะนั้น และในปี 1940 Xavier Cugat หัวหน้าวงดนตรีที่มีชื่อเสียงได้กำกับวงออสเครตร้าโดยอุ้มสุนัขพันธุ์ชิวาว่าเอาไว้ด้วย ทำให้สุนัขพันธุ์ชิวาว่าเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางมากขึ้น

Related Post

เกิดการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีเลือดนักสู้ลดลง จนกลายเป็นสุนัขที่กล้าหาญ วางใจได้ ไม่ดุร้ายเหมือนรูปร่างเกิดการพัฒนาสายพันธุ์ให้มีเลือดนักสู้ลดลง จนกลายเป็นสุนัขที่กล้าหาญ วางใจได้ ไม่ดุร้ายเหมือนรูปร่าง

บางตำราบอกว่ามีถิ่นกำเนิดที่ประเทศอังกฤษ จัดอยู่ในกลุ่มมาสติฟ (Mastiff) ที่เชื่อกันว่ามันกลายพันธุ์มาจากพันธุ์ Tibetan Mastiff ที่มีโครงสร้างภายนอกไม่สมประกอบ เพราะเมื่ออดีตมันถูกเลี้ยงอย่างทรมานเพื่อให้ได้มาซึ่งรูปร่างหน้าตาที่ไม่ธรรมดาเช่นนี้ ก็เพื่อไว้เป็นหมากีฬาต่อสู้กับวัวเช่นกัน น้องหมาพันธุ์นี้มีน้ำหนัก เพศผู้ประมาณ 25 กิโลกรัม ส่วนเพศเมียประมาณ 18 กิโลกรัม สูงเต็มที่เพียงฟุตเศษเท่านั้น มีลักษณะเด่นคือ หัวกลม ปากและบริเวณใบหน้าย่น ห้อย ขนเกรียนสั้นตรงและเรียบ นิ้วเท้าเวลายืนเหมือนยกขึ้น ขาหน้าตรง เวลายืนแล้วจะกางออกเล็กน้อย หางสั้น โดยมากจะเป็นสีเดียวทั้งตัว แต่มีสีดำที่ใบหน้า ปาก หน้าอก

9 วิธีดูแลหมา-แมวรับปีใหม่ ฉลองอย่างไรให้สัตว์เลี้ยงมีสุข9 วิธีดูแลหมา-แมวรับปีใหม่ ฉลองอย่างไรให้สัตว์เลี้ยงมีสุข

ฉลองปีใหม่กับเจ้าตูบและเจ้าเหมียวด้วยของขวัญสุดพิเศษกับ 9 วิธีดูแลสัตว์เลี้ยง ให้เจ้าตูบและเหมียวแข็งแรงต้อนรับปีใหม่และอยู่กับเราไปนาน ๆ ปีใหม่นี้ถ้าใครยังไม่มีของขวัญให้ให้สัตว์เลี้ยงที่บ้าน อยากจะบอกว่าไม่ต้องหาซื้อให้ยุ่งยากเลย นอกเหนือจากจากขนมและของเล่นแล้วคุณยังสามารถให้ของขวัญอย่างอื่นกับพวกมันได้ อย่างเช่น ใช้เวลาอยู่กับน้องเหมียวมากขึ้น หรืออาจจะพาเจ้าตูบไปเดินเล่นบ่อยขึ้น และวันนี้กะปุกดอทคอมก็มี 9 วิธีดูแลน้องหมาและน้องแมวมาฝากกัน ถือซะว่าเป็นเป็นการให้ของขวัญชิ้นพิเศษสำหรับเจ้าตูบและเจ้าเหมียว 1. พาไปตรวจสุขภาพประจำปี ไม่ใช่มีแต่คนเท่านั้นนะที่ต้องไปตรวจสุขภาพประจำปี หากที่บ้านมีน้องหมาน้องแมวอยู่ ก็อย่าลืมพาพวกเขาไปตรวจสุขภาพประจำปีด้วยนะคะ เพราะนอกจากจะได้เช็กความแข็งแรงของร่างกายแล้ว ยังทำให้รู้ล่วงหน้าอีกด้วยว่าสัตว์เลี้ยงของเราเสี่ยงต่อการเป็นโรคอะไรบ้าง แล้วในฐานะที่เราเป็นเจ้าของควรจะระมัดระวังเรื่องอะไรบ้าง มีอะไรบ้างที่ทำได้และมีอะไรบ้างที่ทำไม่ได้ เพราะโรคบางอย่างไม่มีอาการเตือนใด ๆ ถ้ามีอาการปุ๊บอาจหมายถึงชีวิตเลยก็ได้ เช่น โรคมะเร็ง ฉะนั้นปีใหม่นี้หากจะหาของขวัญให้สัตว์เลี้ยงสัตว์อย่าง พาพวกเขาไปตรวจสุขภาพประจำปีก็น่าจะเป็นไอเดียที่ดีมากทีเดียวค่ะ 2.

การเลี้ยงเต่าซูคาต้า

การเลี้ยงเต่าซูคาต้าการเลี้ยงเต่าซูคาต้า

เต่าซูคาต้าหรือที่ใครหลายๆคนนั้นเรียกว่าเต่าซู ที่เป็นเต้ามาจากแอฟริกาเหนือเต่าซูคาต้าเป็นสัตว์หายากในหลายๆประเทศจึงทำให้ใครหลายๆคนนิยมนำเข้ามาเลี้ยงและความพิเศษของมันนั้นมันเองที่มีความสามารถในการปรับตัวอย่างยอดเยี่ยมต่อสภาพอากาศหลายๆรูปแบบ อีกทั้งค่าตัวก็ไม่แพงเท่าไหร่ และนิสัยขี้สงสัยชอบเดินดูโน่นดูนี่ ทำให้มันมักจะถูกเลือกเป็นตัวเลือกแรกของบรรดาผู้เลี้ยงเต่าบกมือใหม่ เต่าซูคาต้านั้นสามารถหาซื้อได้ทั่วไปในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะรัฐทางใต้ เพราะสภาพอากาศเอื้อต่อการเลี้ยง สามารถปล่อย outdoor ได้ทั้งปี ดังนั้นมันก็หาซื้อได้ง่ายๆตามร้านค้าสัตว์ทั่วไป หรืองานขายสัตว์ expoต่างๆ หรือซื้อโดยตรงจากผู้เพาะพันธ์เลยก็ยังได้ สิ่งสำคัฐที่ต้องคำนึงถึงคือเต่าซูคาต้านั้นเป็นเต่าที่มีปัญหาเรื่องนิ่ว สามารถสังเกตได้ถ้ามาจากป่าเต่าจะขนาดใหญ่มาก ส่วนเต่าตัวตัวเล็กๆนั้นจะมาจากการเพาะพันธ์ในสหรัฐ (บทความแปล ในไทยสามารถหาซื้อได้จากกลุ่มเว็ปไซต์ซื้อขาย เต่าบกต่างๆ หรือที่สวนจตุจักร)การตั้งราคาเต่าเด็กนั้นจะหลากหลายมาก ขึ้นอยู่กับแหล่งที่มา ขนาด อายุ หรือแม้แต่ฤดูฟักไข่ (ช่วงที่เต่าเกิดเยอะๆ ราคาจะถูกลง) เมื่อไหร่ก็ตามที่มันใหญ่พอจะสามารถระบุเพศมันได้ว่าเป็นเพศเมีย ราคาขะขึ้นสูงมาก