Bishopbark ลักษณะของสุนัข,เรื่องน่ารู้ สุนัข ชิสุ เจ้าหมาสิงโตน้อย ประวัติไม่ธรรมดา !!

สุนัข ชิสุ เจ้าหมาสิงโตน้อย ประวัติไม่ธรรมดา !!

สุนัข ชิสุ เจ้าหมาสิงโตน้อย ประวัติไม่ธรรมดา !! post thumbnail image

ทำความรู้จัก สุนัขชิสุ เจ้าสิงโตน้อย นิสัยเป็นมิตร ขี้เล่น และช่างประจบ บอกเลยว่าความเป็นมาของสุนัขสายพันธุ์นี้มีความเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของจีนด้วย

เพราะภาพลักษณ์หมาน้อยตากลมโต ผูกโบว์ที่หน้าผาก มีขนยาวสวย ดูสง่างาม ขนาดพอเหมาะ พาไปไหนมาไหนได้ไม่ลำบาก แถมยังนิสัยเป็นมิตร ขี้เล่น และช่างประจบ เลยทำให้มีผู้คนจำนวนไม่น้อยหลงใหลได้ปลื้มเจ้าสุนัขพันธุ์ “ชิสุ” และเลี้ยงเป็นสมาชิกสี่ขาประจำครอบครัวกันอย่างแพร่หลาย แต่รู้ไหมว่าประวัติความเป็นมาของ สุนัข ชิสุ น่ะ เป็น ถึง 1 ใน 3 สุนัข ชั้นสูงจากจักรพรรดิจีนเชียวนะ

       ทั้งนี้ บรรพบุรุษของ สุนัข ชิสุห์ นั้น มีการคาดเดาว่ามีต้นกำเนิดจากทิเบต เนื่องจากตามประวัติศาสตร์ของชาวทิเบตถือว่าสิงโตเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อทางศาสนา พระชาวทิเบต (Lama) จึงได้ผสม สุนัข พันธุ์เล็กขึ้นมาให้มีลักษณะคล้ายคลึงกับสิงโต ซึ่งเราจะเห็นได้ว่าลักษณะขนแผงคอของ ชิสุ จะเหมือนกับสิงโต อีกทั้งท่าทางการเดินหรือการเคลื่อนไหวก็แลดูสง่างาม และชื่อ "ชิสุ" (Shih Tzu) ซึ่งเป็นคำในภาษาจีน ก็แปลว่า สิงโต ด้วย 

       ต่อมาทิเบตได้ส่ง สุนัข ชิสุ มาเป็นหนึ่งในเครื่องบรรณาการแก่จักรพรรดิราชวงศ์ชิง ราชวงศ์สุดท้ายของจีน  ซึ่งพระนางซูสีไทเฮา ทรงโปรดการเลี้ยง สุนัข มาก โดยมี สุนัข พันธุ์ปักกิ่ง ปั๊ก และชิสุ ที่ได้รับการดูแลอย่างดีจากพระองค์ ชนิดหรูหราและฟุ่มเฟือย ในอดีตจึงเป็นที่รู้กันดีว่า ชิสุ เป็น สุนัข ที่มีชนชั้น  นิยมเลี้ยงกันเฉพาะในราชสำนักของและนับเป็นสิ่งสูงค่าสำหรับสามัญชน 

       ในปี ค.ศ.1908  เมื่อพระนางซูสีไทเฮาสิ้นพระชนม์ สุนัข ชิสุ ทรงเลี้ยงในพระราชวังก็กระจัดกระจายหายไป แต่ก็มี ชิสุ บางส่วนที่ถูกลักลอบนำไปผสมข้ามสายพันธุ์ ทำให้ ชิสุ ขยายพันธุ์ไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นในอังกฤษ และทั่วยุโรป ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และเป็นสายพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงกันถึงปัจจุบัน  เนื่องจาก ชิสุ เป็น สุนัข พันธุ์เล็ก อีกทั้งมีของลักษณะขนและหน้าตา ที่จะสร้างความเพลิดเพลินในการเลี้ยงดูของเจ้าของที่ชอบแต่งตัวให้ สุนัข แต่คงไม่เหมาะนักสำหรับเจ้าของที่ไม่มีเวลา

ลักษณะทั่วไปของสุนัขชิสุ

       ชิสุ เป็น สุนัข ขนาดเล็กในกลุ่มทอย (Toy Group) มีน้ำหนักประมาณ 4.5 - 7.5 กิโลกรัม (หรือราว 10 - 16 ปอนด์) ส่วนสูงประมาณ 25 - 27 ซม. (หรือราว 10 - 11 นิ้ว) ทั้งนี้ ชิสุ มีลักษณะนิสัย กล้าหาญ มีความตื่นตัว ขี้ประจบ มีความสง่าอยู่ในตัว เดินหน้าเชิด การย่างก้าวสง่าผ่าเผย นอกจากนี้ ชิสุ ยังรักความสะอาด เป็นมิตรกับทุกคน ปรับตัวได้ดี และชอบที่จะมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ กับเจ้าของในทุกเรื่อง แล้วก็ไม่ชอบถูกทิ้งไว้ในบ้าน

       ข้อบกพร่องของสายพันธุ์ชิสุ

       ข้อบกพร่องของ ชิสุห์ ที่จัดว่าร้ายแรงตามมาตรฐานของ AKC : American Kennel Club (สมาคมสุนัขแห่งสหรัฐอเมริกา) ที่ยอมรับกันทั่วโลก มีดังนี้ 

        - ศีรษะแคบเกินไป
        - ฟันบนเกยฟันล่าง
        - ขนสั้น หรือขนที่ได้รับการขลิบให้สั้น
        - จมูกหรือหนังบริเวณขอบตาสีชมพู
        - ดวงตามีขนาดเล็กหรือมีสีจาง
        - ขนบาง ไม่ดกหนา
        - มุมหักตรงช่วงรอยเชื่อมระหว่างจมูกและหน้าไม่เด่นชัด

อาหารและการเลี้ยงดูสุนัขชิสุ

       ชิสุห์ มีอายุค่อนข้างยืนยาว คือประมาณ 10-18 ปี ตามแต่ปัจจัยต่างๆ เช่น อาหาร และการเลี้ยงดู โรคที่มักเกิดขึ้นกับ ชิสุ คือโรคตาแห้ง โรคหูน้ำหนวก หูอักเสบ โดยเจ้าของควรหมั่นทำความสะอาดตาและหูของ ชิสุ อย่างสม่ำเสมอด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดของมันโดยเฉพาะ ส่วนโรคอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นกับ ชิสุ ได้ เช่น โรคนิ่ว โรคไต และไส้เลื่อน

       ปกติ ชิสุห์ จะเป็นมิตรกับคน นิ่งและดูสงบ ดูจะเป็น สุนัข อารมณ์ศิลปินซะด้วย หลายครั้งที่พบว่า ชิสุ จะไม่เชื่อฟังเราถ้ามันไม่อยากทำซะอย่าง อย่างไรก็ตาม ชิสุ ก็ชอบวิ่งและรักความสนุกซึ่งเจ้าของจำเป็นจะต้องพามันออก ไปวิ่งออกกำลังกายบ้าง

       นอกจากนี้ ขนเป็นส่วนประกอบสำคัญที่เป็นตัวชี้วัดความสวยงามของ ชิสุ โดยเฉพาะ ชิสุห์ เป็น สุนัข ขนยาว ที่จะต้องดูแลมากเป็นพิเศษ เนื่องจากมีขนเส้นเล็กและพันกันได้ง่าย หากไม่รู้จักวิธีการรักษาขนให้ดี ขนของ ชิสุ จะพันกันและมีโอกาสเป็นโรคผิวหนังได้ง่ายๆ 

       ทั้งนี้ การแปรงขนอย่างสม่ำเสมอทุกวันจะช่วยให้ผิวหนังและขนสะอาดของ ชิสุ เป็นเงางาม เพราะมีการนวดให้ต่อมน้ำมันที่โคนขนขับน้ำมันออกมาเคลือบเส้นผมได้มากขึ้น ทำให้ผิวหนังมีสุขภาพสมบูรณ์ และยังเป็นการช่วยขจัดรังแคและสิ่งสกปรกอื่นออกจากผิวหนังของ ชิสุ ด้วย

       อาหารที่เหมาะกับเจ้า ชิสุ สุดสวย ควรเป็นอาหารเม็ดมากกว่าอาหารกระป๋อง เพราะ สุนัข มีขนยาว หากให้กินอาหารกระป๋องจะทำให้เลอะหนวดเครา เหม็นคาว ทำให้ต้องทำความสะอาดกันทุกครั้งไป และหากล้างออกไม่หมดก็จะกลายเป็นที่สะสมของเชื้อโรค อีกทั้งถ้าให้อาหารกระป๋องต้องใช้ให้หมดในคราวเดียว ไม่เช่นนั้นจะเสี่ยงต่อสุขภาพของ  ชิสุ ของคุณได้ 

       ดังนั้น ทางเลือกที่เหมาะที่สุดเห็นจะเป็นอาหารเม็ด ทั้งนี้ การเลือกซื้อควรเลือกประเภทสำหรับ สุนัข พันธุ์เล็ก  โดยเลือกดูให้เหมาะกับช่วงวัยของ ชิสุ ด้วย เช่น ถ้าเป็นอาหารลูก สุนัข ข้างถุงจะพิมพ์ไว้ว่า Puppy มีโปรตีนมากกว่า เม็ดจะเล็กกว่า และจะแพงกว่าอาหาร สุนัข โตนิดหน่อย

       อย่างไรก็ตาม อาหารปรุงเองก็สามารถให้ ชิสุ ได้ แต่ควรดูความเหมาะสมของสารอาหารที่ให้ และการสร้างอุปนิสัยที่ดี  เพราะหากให้กินพร่ำเพรื่อ สุดท้ายเจ้า ชิสุ ตัวโปรดของคุณก็จะติดนิสัยขออาหารที่ครั้งที่เห็นคนกิน ดังนั้นต้องใจแข็งไว้นะคะ ควรให้อาหารเป็นเวลาจะดีกว่า แล้ว ชิสุห์ ของคุณไม่มีปัญาหาสุขภาพตามมาด้วย

โรคและวิธีการป้องกัน

       1. โรคตาแห้ง เป็นโรคที่มักเกิดกับ สุนัข ชิสุห์ เพราะมีดวงตากลมโต ลูกตาเปิดกว้าง ทำให้เกิดการระคายเคืองได้ง่าย อีกทั้งยังมีโอกาสเกิดอุบัติเหตุกับดวงตาด้วย ทั้งนี้ อาการของโรคตาแห้ง คือน้ำตาน้อย ก็ต้องรักษาด้วยการหยอดตาต่อเนื่อง อาจจะนานๆ ครั้ง หรือไม่ก็ตลอดชีวิต สำหรับการดูแลรักษา อย่างแรกเลยผู้เลี้ยง ควรเจ้าของควรหมั่นทำความสะอาดตาอย่างสม่ำเสมอด้วยผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดโดยเฉพาะ และเมื่อเห็นความผิดปกติของลูกตาให้รีบพาไปพบสัตวแพทย์ทันที เพราะ ถ้าทิ้งไว้นาน อาจทำให้ติดเชื้อ แก้วตาละลาย ถึงขั้นตาบอดได้ อีกอย่างถ้าพามาตั้งแต่แรกเริ่มก็จะมีค่าใช้จ่ายในการรักษาที่ไม่สูงมากนัก

       2. โรคหูน้ำหนวก หูอักเสบ ส่วนใหญ่เป็นการอักเสบของช่องหูภายนอกที่เรียกว่า "otitis externa" เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งอาการของ สุนัข ชิสุ ที่ป่วยหูอักเสบ ได้แก่ มีกลิ่นเหม็น ชอบเกาหู หรือเอาหู (หัว) ไปถูกับวัตถุ ช่องหู หรือใบหูมีสีแดง หรือบวม ในบางตัวอาจมีสิ่งคัดหลั่งออกมาจากช่องหู ฯลฯ 

       สำหรับวิธีการป้องการที่ดีที่สุด คือการรักษาความสะอาด ควรตรวจสอบช่องหูของ สุนัข ชิสุห์ ทุกสัปดาห์ สุนัข บางตัวมีขี้หูน้อย บางตัวก็มีมาก แตกต่างกันไป ควรใช้สำลีหรือผ้านิ่มๆ เช็ดบริเวณรูหูส่วนนอก และใบหูเป็นประจำ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ถ้าพบว่า สุนัข ของคุณสะบัดหู หรือเกาหูบ่อย ก็ให้นำไปพบสัตวแพทย์ เพราะอาจมีแมลงเข้าหูหรืออาจเกิดโรคหูอักเสบขึ้น

       นอกจากนี้ ชิสุห์ ยังมีโรคอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น โรคนิ่ว โรคไต โรคผิวหนัง และไส้เลื่อน ทางที่ดีผู้เลี้ยงควรฉีดวัคซีนให้ สุนัข ตามกำหนดให้ครบ และใส่ใจเรื่องอาหาร และการออกกำลังกาย และหากผิดความผิดปกติใดๆ ก็ตามควรรีบพา สุนัข แสนรักไปพบแพทย์เพื่อได้รรับการวินัจฉัยและการรักษาที่ตรงจุดต่อไป

Related Post

การดูแล กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยน

การดูแล กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนการดูแล กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยน

 กิ้งก่าคาร์เมเลี่ยนในธรรมชาติที่เป็นที่รู้จักของผู้เลี้ยงในปัจจุบันมีมากกว่า 150 ชนิด และมากกว่าครึ่งมาจากเกาะมาดากัสการ์ และที่เหลือพบในยุโรปตอนใต้ เอเชียและฮาวาย โดยแหล่งทีอยู่อาศัยของมันในธรรมชาติพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างสุดขั้ว มีทั้งทะเลทรายซาฮาร่าจนถึงทุ่งหญ้าบนภูเขา หรือในป่าดงดิบก็ยังมีเลยครับ ซึ่งพบที่ทางตะวันออกของเกาะมาดากัสการ์ ทำให้คาร์เมเลี่ยนแต่ละชนิดมีความต้องการพื้นฐานแตกต่างกัน ทางที่ดีก่อนที่เราจะนำมาเลี้ยงควรทำการศึกษาให้ดีเสียก่อนนะครับ คาร์เมเลี่ยนมีขนาดตั้งแต่ 2 นิ้ว ไปจนถึง 2 ฟุตครึ่ง โดยปกติตัวผู้จะมีสีสันสดใสกว่าตัวเมียและบางชนิดอาจมีโหนกและเขายื่นออกมา ในขณะที่ตัวเมียไม่มี โดยทั่วไปมีอายุเฉลี่ย 1-2 ปี โดยตัวผู้มีอายุยืนยาวกว่า ซึ่งตัวผู้ที่ได้จากการเพาะพันธุ์จะมีอายุถึง 4-5 ปี ส่วนตัวเมียอายุสั้นกว่าเพียง 2-3 ปี

รีวิวสัตว์เลี้ยง

ข้อควรรู้เกี่ยวกับ แมวป่าคาราคัลข้อควรรู้เกี่ยวกับ แมวป่าคาราคัล

แมวป่าคาราคัลนั้นมันเป็นสัตว์กินเนื้อที่มีขากรรไกรแข็งแรงมาก โดยส่วนมากมันจะล่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก เช่น  หนูทราย กระรอกดิน และร่างกายมันยังทนขนจากสัตว์ต่างๆที่กินเข้าไปได้อีกด้วย โดยมันจะกินแต่เนื้อหนังและปล่อยทิ้งอวัยวะภายในไว้กับพื้น พวกมันใช้ประโยชน์จากภูมิทัศน์ที่เห็นได้กว้างไกล บวกกับหูที่สามารถได้ยินเสียงแปลกปลอมเล็กๆที่เข้ามาในรัศมีการล่าของมัน และหากเหยื่อมีขนาดใหญ่เกินไป มันก็จะเก็บไว้บนต้นไม้เช่นเดียวกัน วิธีการนี้เหมือนกับเสือดาวเช่นกัน แมวโดยทั่วไปวิ่งได้เร็ว 50 กม. ต่อชม. แต่แมวคาราคัลวิ่งได้เร็วสุดถึง 80 กม. ต่อชม. เพราะด้วยขาหลังที่ยาวทำให้สามารถวิ่งได้อย่างรวดเร็วและพวกมันสามารถกระโดดได้มากกว่า 10 ฟุต หรือประมาณ 3 เมตรจากพื้นดินเลยทีเดียว

5 พันธุ์หมาเล็กๆ พกพาง่ายอุ้มสบายมือ5 พันธุ์หมาเล็กๆ พกพาง่ายอุ้มสบายมือ

เจ้าตูบสี่ขาคงเป็นสัตว์เลี้ยงโปรดของใครหลายๆคน นอกจากความน่ารักแล้วยังมีความซื่อสัตย์ต่อเจ้าของสุดๆไม่ว่าจะสายพันธุ์ไหนก็ตาม น้องหมาก็มีหลายสายพันธุ์หลายขนาดแล้วแต่คนเลี้ยงว่าชอบแบบไหน น้องหมาพันธุ์เล็กๆก็เป็นที่นิยมไม่แพ้กัน เพราะนอกจากความน่ารัก ทะเล้นและแสนขี้อ้อนแล้ว ก็ยังมีขนาดที่เล็กกะทัดรัด อุ้มได้สบายมือไม่มีหนัก อีกทั้งสามารถดูแลเลี้ยงดูง่ายไม่ต้องใช้พื้นที่ในการเลี้ยงเยอะ และพกพาออกไปนอกบ้านได้ง่ายกว่า วันนี้เจ้จะมาแนะนำน้องหมาพันธุ์เล็ก 5 สายพันธุ์ มาให้สาวๆชมความน่ารักทะลุจอกัน เผื่อสาวๆคนไหนกำลังหาข้อมูลเลี้ยงน้องหมาอยู่ จะได้ตัดสินใจได้ง่ายขึ้น พร้อมแล้วมาดูกันเลยจ้า 1. พุดเดิ้ล สุนัขตัวเล็กขนหยิกฟู เป็นสุนัขพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงกันมาอย่างยาวนาน นอกจากรูปร่างหน้าตาที่น่ารักสุดแอ๊บแบ๊วแล้ว พุดเดิ้ลยังเป็นน้องหมาที่ขี้อ้อน ติดเจ้าของและประจบเก่งสุดๆ แถมยังเป็นสุขนัขที่ฉลาดมากๆ ถึงกับเคยถูกจัดอันดับว่าเป็นน้องหมาที่ฉลาดเป็นอันดับสองของโลกเลยทีเดียว เป็นรองแค่พันธุ์เยอรมันเชพเพิร์ดเท่านั้น แถมเป็นพันธุ์ที่ไม่ผลัดขน เพราะฉะนั้นหมดห่วงเรื่องขนร่วงติดเฟอร์นิเจอร์ได้เลย ข้อเสียข้อเดียวของนางก็คงเป็นเรื่องปากเปราะ